วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความหมายของระบบเครีอข่ายคอมพิวเตอร์

   
  1. ความหมายของระบบเครีอข่ายคอมพิวเตอร์      
       "ก่อนที่เราจะเริ่มใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้น   เราควรจะต้องมีความเข้าใจพื้นฐาน
เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เสียก่อน โดยเฉพาะการทำความเข้าใจในเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) เบื้องต้น   ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
นั้นมีการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านเครื่องทั่วโลก และถือว่าอินเทอร์เน็ตนั้น
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง"
  
          ความหมายของระบบเครีอข่ายคอมพิวเตอร์
   ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การต่อเชื่อม
คอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิลหรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์
สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้
เครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างง่าย
 
              จากภาพเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างง่ายในที่ทำงานเดียวกัน หรือพื่นที่ใกล้ๆ กัน  
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เชื่อมต่อถึงกันด้วยสายเคเบิล และต่อเข้ากับเครื่องพิมพ์    ดังนั้น เราสามารถ
ที่จะส่งข้อมูลไปพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้   แต่ถ้าเป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จากเครื่องที่อยู่ห่างไกลกันมากๆ เช่น จากจังหวัดหนึ่งไปอีกจังหวัดหนึ่ง เช่น จากกรุงเทพฯ
ไปจังหวัดนครราชสีมา  อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมโยงกันคือเครือข่ายโทรศัพท์หรือการส่งข้อมูล
ตามสายโทรศัพท์นั่นเอง
            องค์ประกอบของการส่งข้อมูล จากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
จะต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 
         ผู้ส่ง ( Sender )
         ผู้รับ ( Receiver ) และ
         ตัวกลางในการส่ง ( Transmission  Medium ) ที่นำข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ
อ้างอิง http://school.obec.go.th/ckn/network1/new_page_3.htm
ความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
            เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำ
มาเชื่อมต่อกันผ่านอุปกรณ์ด้านการสื่อสารหรือสื่ออื่นใด ทำให้ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและใช้
อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครือข่ายร่วมกันได้
            การที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาท และความสำคัญเพิ่มขึ้นเพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งาน
อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบ
ให้สูงขึ้นเพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง เครือข่ายมีตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์
เพียงสองสามเครื่องเพื่อใช้งานในบ้าน หรือในบริษัทเล็กๆ ไปจนถึงเครือข่ายระดับโลกที่ครอบคลุมไปเกือบทุกประเทศ
เครือข่ายสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากทั่วโลกเข้าด้วยกัน เราเรียกว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
http://www.skn.ac.th/a_cd/content/74.html

ความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆแล้วทำไมเราถึงต้องใช้เครือข่าย หรือระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย การที่เรานำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกัน เราจะสามารถใช้ประโยชน์จากระบบ หรือระบบสามารถทำอะไรได้บ้าง ทำให้ใช้ทรัพยากร ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้ (Resources Sharing) ซึ่งเป็นการช่วย ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความสะดวก ในการใช้งาน เช่น การใช้พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ และเครื่องพิมพ์ร่วมกันสามารถบริหารจัดการการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management) เช่น สร้างเวิร์กกรุป กำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล และสามารถทำการ สำรองข้อมูล ของแต่ละเครื่องได้ สามารถทำการสื่อสาร ภายในเครือข่าย (Communication) ได้หลายรูปแบบ เช่น อีเมล์, แชท (Chat), การประชุมทางไกล (Teleconference), และ การประชุมทางไกล แบบเห็นภาพ (Video Conference)มีระบบรักษาความปลอดภัย ของข้อมูล บนเครือข่าย (Network Security) เช่นสามารถ ระบุผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล ในระดับต่างๆ ป้องกันผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาติ เข้าถึงข้อมูล และให้การคุ้มครอง ข้อมูลที่สำคัญ ให้ความบันเทิงไม่รู้จบ (Entertainment) เช่น สามารถสนุกกับ การเล่นเกมส์ แบบผู้เล่นหลายคน หรือที่เรียกว่า มัลติ เพลเยอร์(Multi Player) ที่กำลัง เป็นที่นิยมกันอยู่ในเวลานี้ได้
ใช้งานอินเทอร์เน็ตร่วมกัน (Internet Sharing) เพียงต่อเข้าอินเทอร์เน็ต จากเครื่องหนึ่งในเครือข่าย โดยมีแอคเคาท์เพียงหนึ่งแอคเคาท์ ก็ทำให้ผู้ใช้อีกหลายคน ในเครือข่ายเดียวกัน สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ เสมือนกับมีหลายแอคเคาท์
ฯลฯ
http://saithammachannetwork.blogspot.com/


ความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  กลาโน (Glano, 1994) ให้ความหมายของระบบเครือข่ายว่า หมายถึงการเชื่อมโยงและสร้างความสัมพันธ์ เพื่อวัตถุประสงค์ในการแบ่งทรัพยากรภายในกลุ่ม เป็นความต้องการของผู้ใช้คอมพิวเตอร์เนื่องจากในช่วงแรก อุปกรณ์ทั้งหลายในระบบคอมพิวเตอร์ยังมีราคาค่อนข้างแพงมาก การเชื่อมโยงทรัพยากรเหล่านี้เข้าด้วยกัน
ก็ส่งผลให้ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถใช้ทรัพยากรที่มีราคาแพงได้อย่างทั่วถึง
สหัส พรหมสิทธิ์ (2534) กล่าวว่า ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ การเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ที่กระจัดกระจาย อยู่ในที่ต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ด้วยวิธีที่ตกลงกันไว้เป็นการล่วงหน้า การสื่อความกันระหว่าง คอมพิวเตอร์จะเป็นไปในรูปของการส่งข่าวสารข้อมูลในรูปของสัญญาณที่เป็นรหัส โดยจะส่งไปตามเส้นทางสื่อสาร เช่น สายโทรศัพท์ช่องส่งสัญญาณดาวเทียม สายไฟฟ้า เส้นใยแก้วนำแสง เป็นต้น
กิดานันท์ มลิทอง (2539) ให้คำนิยามของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ว่าหมายถึงระบบการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล ที่สร้างขึ้นโดยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป โดยใช้แผ่นวงจรต่อประสานข่ายงานกับสายเคเบิลและทำงานด้วยระบบปฏิบัติการข่ายงาน
มานิจ อาจอินทร์ (2542) ให้ความหมายของคำว่า เครือข่ายคอมพิวเตอร์ว่า หมายถึง กลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีการ เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ดิสค์ เทป เครื่องพิมพ์ ฯลฯ ร่วมกันได้ ซึ่งในแต่ละหน่วยงานทั้งในภาครัฐ หรือเอกชนที่มีการติดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างก็ต้องรับผิดชอบเครือข่ายของตน
ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกัน ผ่านเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร เพื่อให้ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยน และใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครือข่ายร่วมกันได้ การที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาท และความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้น เข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้นเพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง เครือข่ายมีตั้งแต่ขนาดเล็ก ที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่อง เพื่อใช้งานในบ้าน หรือในบริษัทเล็ก ๆ ไปจนถึงเครือข่ายระดับโลกที่ครอบคลุมไปเกือบทุกประเทศ เครือข่ายสามารถเชื่อต่อคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากทั่วโลก เข้าด้วยกัน เรียกว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อ้างอิง http://www.sa.ac.th/e-learning/internet/mean_net.htm


ความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
     ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึง การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อ เข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากร ของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น
เครือข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไร
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและได้และใช้ทรัพยากรที่อยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ และทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก เช่น เวบ  อีเมล  FTP  
ความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น 
http://www.thaigoodview.com/
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network)  คือ ระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้  นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น  การใช้ทรัพยากรเหล่านี้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก  เมื่อมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกล เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั่วโลก  ก็ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ได้กับคนทั่วโลก โดยใช้แอพพลิเคชั่น เช่น เว็บ อีเมลล์ เป็นต้น
http://guru.sanook.com/
ความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
        ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หรือจะเรียกสั้น ๆ ว่า ระบบเครือข่าย(Network) ประกอบไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องที่สามารถติดต่อกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การติดต่อจะผ่านทางช่องการสื่อสารต่าง ๆ เช่น สายโทรศัพท์ สายไฟฟ้า หรือผ่านทางสื่อแบบอื่น ๆ ได้แก่ โมเด็ม (Modem) ไมโครเวฟ (Microwave) สัญญาณอินฟราเรด (Infrared) เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปจะหมายถึง การที่เรานำเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่องมาเชื่อมต่อกัน วัตถุประสงค์ที่ต้องต่อกันนี้ มักเกิดจากความต้องการที่จะใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน เช่น ใช้เนื้อที่เก็บข้อมูลในดิสก์ร่วมกัน ใช้งานเครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่มีอยู่เครื่องเดียวร่วมกัน ต้องการส่งข้อมูลให้กับบุคคลอื่นในระบบไปใช้งาน หรือต้องการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เป็นต้น
        ฉะนั้น ระบบเครือข่าย Network คือ ระบบที่นำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC หรือ Personal Computer) แต่ละเครื่องมาต่อเชื่อมกันด้วยกลวิธีทางระบบคอมพิวเตอร์นั่นเอง
ความหมายของระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์(Computer Network) คือระบบที่มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป
ผ่านช่องทางการสื่อสารอย่างใดอย่างหนึ่ง และระบบเครือข่ายใดๆ สามารถมีระบบเครือข่ายย่อยมากกว่า
1 เครือข่ายอยู่ภายใน
http://classroom.hu.ac.th/
ความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
            เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันผ่านอุปกรณ์ด้านการสื่อสารหรือสื่ออื่นใด ทำให้ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครือข่ายร่วมกันได้
การที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาท และความสำคัญเพิ่มขึ้นเพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้นเพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง เครือข่ายมีตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่องเพื่อใช้งานในบ้าน หรือในบริษัทเล็กๆ ไปจนถึงเครือข่ายระดับโลกที่ครอบคลุมไปเกือบทุกประเทศ เครือข่ายสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากทั่วโลกเข้าด้วยกัน เราเรียกว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
https://sites.google.com
2. ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
          ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup)  แต่เมื่อเชื่อมโยงหลายๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกัน   ก็จะเป็นเครือข่ายขององค์กร และถ้าเชื่อมโยงระหว่างองค์กรผ่านเครือข่ายแวน ก็จะได้เครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น  
          การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้ 
          ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
          การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง  
 
การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data)    
         เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร ์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง เครื่องลูก (Client) สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server) หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง 
สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได ้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine) เป็นต้น  
สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (ฺBusiness Applicability) 
         องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยง          เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Internet เพื่อทำธุรกิจกันแล้ว เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น  
ความประหยัด
          นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้  จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน
ความเชื่อถือได้ของระบบงาน 
          นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที
อ้างอิง http://blog.eduzones.com/banny/3478


ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
       เครือข่ายที่ทำงานรวมกันเป็นกลุ่มงาน เรียกว่า  Workgroup  เมื่อเชื่อมโยงหลาย ๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกันจะเป็นเครือข่ายขององค์กร  จะเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่   สามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวางโดยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันและสื่อสารถึงกันได้  เช่น
                               1.  การใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน   เครือข่ายที่ให้บริการเก็บข่าวสาร  ตัวเลขหรือข้อมูลใช้งานจะใช้ฐานข้อมูลเดียวกันได้  เช่น  ราคาสินค้า  บัญชีสินค้า  ฯลฯ
                              2.  การแบ่งปันทรัพยากรในเครือข่าย  อุปกรณ์ต่าง ๆ ใช้ร่วมกันได้  เช่น  การพิมพ์เอกสารจะใช้เครื่องพิมพ์เครื่องเดียวกับคอมพิวเตอร์เครือข่ายหลายเครื่องก็ได้ เป็นต้น
                                3.  การติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนเครือข่าย  เมื่อมีการเชื่อมโยงสถานีงานเข้าด้วยกันก็จะสามารถโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันได้  การดำเนินการต่าง ๆ ควรเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ฝ่ายบริหารเครือข่ายขององค์กรได้กำหนดไว้
                                4.  สำนักงานอัตโนมัติ  แนวคิดคือต้องการลดการใช้กระดาษ  หันมาใช้ระบบการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ที่แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทันที  โดยการใช้สัญญาณอิเลคทรอนิกส์แทน  จะทำให้การทำงานคล่องตัวและรวดเร็ว
                                การใช้งานเครือข่ายยังมีการประยุกต์ได้หลายอย่างตั้งแต่ การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน  การทำงานเป็นกลุ่ม  การใช้ทรัพยากรร่วมกัน  การนัดหมายการส่งงาน  แม้แต่ในห้องเรียนก็ใช้เครือข่ายเพื่อการเรียนการสอน  ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้เรียกค้นข้อมูลเป็นต้น
http://a.1asphost.com/chalin623/drinking48/electronic/elec5.htm


  การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายที่เรียกกันว่าเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นก่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศดังนี้
การใช้ข้อมูลร่วมกัน
    ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะมีการจัดการด้านข้อมูลสารสนเทศโดยจะเก็บข้อมูลไว้เป็นฐานข้อมูลเพื่อให้สามารถ จัดการกับข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เช่น
    ข้อมูลนักเรียนของโรงเรียนจะถูกจัดเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลของระบบงานทะเบียนนักเรียน เมื่อมีการตรวจสอบผลการเรียนในรายวิชาต่างๆ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ที่อยู่ในระบบเครือข่ายก็สามารถเข้าตรวจสอบได้ทันทีด้วยความรวดเร็ว รวมทั้งการแก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติมข้อมูลนักเรียนก็จะทำได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน
    หรือ ข้อมูลหนังสือในห้องสมุด ก็จะมีการจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลหนังสือห้องสมุด สามารถให้บริการยืมคืน สืบค้นข้อมูล แก้ไขปรับปรุง เมื่อมีหนังสือใหม่เข้ามาก็สามารถเพิ่มเติมได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การใช้ทรัพยากรร่วมกัน 
         ทรัพยากรในระบบงานคอมพิวเตอร์บางอย่าง เช่น เครื่องพิมพ์  ถ้าติดตั้งไว้ที่                        เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายและกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดในระบบเครือข่ายเข้ามาใช้ได้ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆในระบบเครือข่ายก็สามารถสั่งพิมพ์งานมาที่เครื่องพิมพ์เครื่องนี้ได้ทันที เป็นการประหยัดทรัพยากร เพราะทรัพยากรบางอย่างเช่นเครื่องพิมพ์มีราคาแพง และไม่ได้ใช้งานตลอดเวลา

การติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
      ในระบบเครือข่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกันได้ หรือสามารถส่งข่าวสารถึงกัน ร่วมไปถึงการพูดคุยกันผ่านระบบเครือข่ายได้ทันที โดยอาศัยเทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์ในการติดต่อสื่อสาร เช่น การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การใช้เว็บบอร์ด การใช้ Chat เป็นต้น
การใช้ระบบสำนักงานอัตโนมัต 
            ระบบสำนักงานอัตโนมัติคือระบบงานที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกันโดยผ่านระบบเครือข่ายแทนการใช้กระดาษ ซึ่งจะเป็นการช่วยในการประหยัดกระดาษในการติดต่อสื่อสาร และยังช่วยในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วยเพราะในการผลิตกระดาษจะต้องมีการตัดไม้มาใช้ในกระบวนการผลิต เช่น เมื่อต้องการส่งเอกสารหนังสือคำสั่ง หรือจดหมาย ถึงกัน ก็พิมพ์เอกสารด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป แล้วส่งผ่านระบบเครือข่ายไม่ต้องพิมพ์ลงบนกระดาษ
การใช้แหล่งเรียนรู้ร่วมกัน ในระบบเครือข่ายสามารถสร้างแหล่งเรียนรู้ต่างๆในรูปแบบต่างๆ แล้วนำมาเก็บไว้ในระบบเครือข่าย เมื่อต้องการอ่านหรือเรียนรู้ในเรื่องใด ก็สามารถเข้ามาศึกษาได้

อ้างอิง  http://www.paktho.ac.th/trirong/classroom/plan4000/plan4001/page7.htm


ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

- การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices)

          เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้  สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง

- การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data)

      เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร ์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง

- สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได ้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine) เป็นต้น

- สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (ฺBusiness Applicability) องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Internet เพื่อทำธุรกิจกันแล้ว เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. การใช้ Hardware ร่วมกัน
ระบบเครือข่าย (Network) จะช่วยให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่อง Hardware ลงไปได้ ทั้งนี้เนื่องจากจะสามารถนำ Hardware บางประเภทมาใช้งานร่วมกันได้ 
  • Share Diskspace เป็นการใช้งานร่วมกันของเนื้อที่ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลซึ่งรวม Harddisk และ CD ROMS (Compact-Disk Read-Only Memory) ซึ่งจะใช้ Harddisk หรือ CD ROMS จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ที่เรียกว่า File Server โดย File Server นี้จะเป็นเครื่องที่ใช้ในการเก็บข้อมูล (Data) ของ User และ Software ของระบบทั้งหมด รวมทั้งควบคุมการทำงานของระบบ Network ด้วย 
  • Share printer เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วง Peripherals ที่ใช้งานมากที่สุด โดยเฉพาะปัจจุบันมี Printer ราคาสูงเกิดขึ้นมากมายโดยเฉพาะ Laser Printer และเครื่องพิมพ์สี (Color Printer) ซึ่งมีราคาแพงและจำเป็นต้องนำมาใช้งานร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนอกจากนั้นในกรณีที่เรานำเครื่องพิมพ์มาใช้งานระบบNetwork มากกว่า 1 เครื่อง เช่น Dot, Matrix, Laser, Printer,Color Ink Jet เป็นต้น ในการส่งงานไปพิมพ์นั้น และสามารถเลือกได้ว่าต้องการใช้งานเครื่องพิมพ์ชนิดใดได้ง่ายซึ่งทำให้การทำง่ายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • Share  Communication  Devices    เป็นการนำอุปกรณ์สื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกันเช่น Modem ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนถ่ายข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกันโดยอาศัยสายโทรศัพท์   นอกจาก Modem แล้วอุปกรณ์อีกอย่างหนึ่งที่สามารถใช้งานร่วมกันได้คือ FAXโดยสามารถที่จะทำการพิมพ์ข้อมูลที่ Workstation ส่วนตัว  และส่งผ่านระบบ Network  ไปที่เครื่อง  FAX ได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องพิมพ์ลงกระดาษแล้วเดินไปส่ง FaX ที่เครื่อง FAX อื่น ๆอีก
2. การใช้ Software ร่วมกัน 
Software ทีใช้งานบนระบบ Network แบ่งออกเป็น Software Packages และ Data เมื่อใช้ระบบ Network จะสามารถที่จะนำเอา Software ทั้ง 2 ชนิด มาใช้งานร่วมกันได้
  • Share Software Packages       ในปัจจุบันสิ่งที่เป็นปัญหาอยู่คือ เรื่องของลิขสิทธิ์ทาง Software ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) แต่ละเครื่องใช้งานแยกกันอยู่ ก็จำเป็นที่จะต้องซื้อ Software ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายมาใช้งาน นั่นคือ 1 ชุดต่อ 1 เครื่อง รวมทั้งยังต้องคอยระวังในเรื่องของการ Copy Software มาใช้งานเองของ User แต่ละคนด้วย การนำระบบ Network มาใช้งานจะช่วยลดปัญหาของการทำผิดกฎหมายทางด้านลิขสิทธิ์ได้ นอกจานนั้น Software ที่ใช้งานระบบ Network จะมีความคล่องตัวกว่า Software บน เครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการ Maintain หรือการซ่อมบำรุงปรับปรุง Software ให้ถูกต้อง เช่น มีรุ่นที่ Update มาใหม่ จะสามารถติดตั้งและ Upgrade software ทั้ง 10 เครื่อง ซึ่งเสียเวลามาก
นอกจากนั้นกรณีที่ใช้ Workstation ประเภท Diskless Workstation User จะไม่มีสิทธิ์ในการใช้งานแผ่น Disk เลย ทำให้สามารถขจัดปัญหาของ Virus ที่สามารถจะแพร่ระบาดอยู่ได้ รวมทั้งการตรวจสอบ Virus ก็ไม่จำเป็นต้องไปตรวจสอบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ (PC)แต่ละเครื่อง แต่ตรวจสอบที่ File Sever เพียงเครื่องเดียว ทำให้ประหยัดเวลา และการทำงานที่คล่องตัว มากขึ้น สำหรับเครื่อง License หรือลิขสิทธิ์นั้น Software ที่จะนำมาใช้งานบนระบบ Network จะต้องเป็น Software รุ่น Netware เท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันมี License Software สำหรับระบบ Network อยู่ 2 แบบคือ
1. concurrent User License หมายถึง Software ที่ระบุจำนวน User ที่สามารถใช้งานได้สูงสุดบนระบบ Network เช่น แบบ 20 Copy นั่นหมายถึง User สามารถใช้งาน Software ตัวนี้สามารถใช้งานได้พร้อมกัน 20 คน
2. Per User License หมายถึง Software ที่จะต้องระบุจำนวน User ลงไปเลยว่าต้องการใช้เท่าใดแต่ในการทำงานจริงๆแล้วจะใช้กี่คนพร้อมกันก็ได้
Share Data ปัญหาที่เกิดขึ้นแน่นอน สำหรับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) แยกกันก็คือ ในกรณีที่เราต้องการข้อมูลของคอมพิวเตอร์ (PC) เครื่องหนึ่ง จะต้อง Copy ลงในแผ่น Disk แล้วนำไปเรียกใช้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) อีกเครื่องหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าข้อมูลนั้นมีขนาดใหญ่หรือต้องการข้อมูลร่วมกันบ่อย ๆ จะทำให้เสียเวลาในการ Copy ข้อมูลมาก ถ้านำระบบ Network มาใช้งานข้อมูล User แต่ละคนจะถูกเก็บไว้ในที่เดียวกันก็คือ Harddisk ของ File Server ดังนั้น User แต่ละคนจะสามารถใช้ข้อมูลซึ่งกันและกันได้ทันที แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกำหนดสิทธิ์ในการเรียกใช้ข้อมูลของแต่ละ User ซึ่งจะสามารถกำหนดไว้ว่า User คนใดจะสามารถใช้งานข้อมูลได้ถึงระดับใดบ้าง
จากประโยชน์การใช้ Software ร่วมกันนี้ข้อมูลจะถูกเก็บอยู่ที่ File Server ข้อมูลจึงถูกต้อง ทันสมัยและรวดเร็ว เป็นการควบคุมข้อมูลที่จุดศูนย์กลาง โดยแต่ละ Workstation สามารถใช้ข้อมูลของ Workstation อื่นใดทันทีถ้ามีสิทธิ์ โดยไม่ต้องรีรอจึงทำให้การทำงานสะดวกขึ้น (Flexible ) นอกจากนั้นยังลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานและลดเวลาในการทำงาน คือ แทนที่จะต้องเสียเวลาในการรอข้อมูลซึ่งกันและกันเพื่อที่จะทำงานต่อไป ก็ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาและลดความผิดพลาดที่เกิดจากข้อมูลไม่ถูกต้องทันสมัย
3. การเชื่อมต่อกับระบบอื่น
ในการระบบงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) เมื่อต้องการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC)มาเชื่อมต่อกับระบบอื่น เช่น Mainframe หรือ Computer จะต้องมีอุปกรณ์เชื่อมต่อพิเศษเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) นั้นสามารถทำงานร่วมกับระบบอื่นได้ จะเรียกขบวนการนี้ว่า Terminal Emulation ปัญหาก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) 1 เครื่องจะต้องมีอุปกรณ์ พิเศษต่อเชื่อม 1 ชุด ซึ่งปกติจะมีราคาสูงมาก เมื่อมีการทำงานที่มากขึ้น การต่อเชื่อมกันกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) เพียง 1 ชุด อาจไม่เพียงพอในการใช้งาน อาจจำเป็นต้องต่อมากยิ่งขึ้น ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้น
แต่ถ้ามีระบบ Network อยู่แล้ว สามารถที่จะนำ เครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) และอุปกรณ์เชื่อมต่อสำหรับระบบอื่น เพียง 1 ชุด หลังจากนั้น Workstation เครื่องอื่นที่ไม่มีอุปกรณ์ต่อเชื่อมนี้ก็สามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่นได้ด้วย เสมือนมี อุปกรณ์เชื่อมต่อติดตั้งทีเครื่องของตนเอง ลักษณะนี้เรียกว่า Gateway
4. การใช้ระบบ Multiusers
การใช้ระบบ Multiusers หมายถึง ระบบที่ User สามารถใช้โปรแกรมหรือข้อมูลเดียวกัน ได้ครั้งละหลาย ๆ คน ซึ่งNetwork นั้นสามารถใช้งานระบบนี้ได้เป็นอย่างดี   ทำให้ในปัจจุบันผู้ใช้งานในระบบ Mainframe หรือ Mini Computers หันให้มาเล็งเห็นความสำคัญของระบบ Mainframe และเริ่มใช้งานระบบนี้มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนของการทำงานในระบบ Multiusers คือ
E-mail (Electronic Mail) ซึ่ง User แต่ละคนสามารถสั่งและรับข้อมูลหรือข่าวสารซึ่งกันและกันได้ โดยผ่านทาง Workstation ของตนเอง มีโปรแกรมที่ใช้งานแบบ E-mail ได้มากมาย เช่น Word Perfect Office CC mail Microsoft Exchange Outlook เป็นต้น
Schedule หรือ Group Calendar เป็นโปรแกรมที่รวบรวมปฏิทินรายวันของ User แต่ละคนมารวมกันเป็นตาราง (Schedule) ของทั้งระบบ ทำให้ผู้จัดการระบบสามารถทราบนัดหมายต่าง ๆ ของ User แต่ละคนได้ และวางแผนการได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น WordPerfect Office
Database สามารถใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลเดียวกันได้พร้อม ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน File Server ได้ถูกพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนมี File Server เฉพาะสำหรับงาน Database เรียกว่า Database server ซึ่งเป็น server ชนิดพิเศษ ที่มีความเร็วสูงในการเรียกใช้และปรับปรุงข้อมูลใน Database จึงมีผู้กล่าวว่าประสิทธิภาพในการทำงาน ของ Database Server นี้ใกล้เคียงหรืออาจจะดีกว่าแบบ Mini Computer เสียอีก
ดังนั้นการจะนำระบบ Network มาใช้งานในองค์กรนั้น จึงควรพิจารณาถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ด้วย ถึงแม้จะประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของ Hardware เนื่องจากสามารถนำอุปกรณ์บางอย่างมาใช้งานร่วมกันได้ก็จริงอยู่ แต่ตอนลงทุน ในการเริ่มต้นก็สูงเช่นกันทั้งนี้เนื่องจากเราต้องซื้อ Server ที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งอุปกรณ์การติดตั้งอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ดังนั้นผู้ที่จะตัดสินใจนำระบบ Network มาใช้งานจึงควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน ทั้งนี้อาจอาศัยรายละเอียดต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น รวมทั้งนโยบายขององค์กรและงบประมาณการเงินอีกด้วย
http://learn.wattano.ac.th/learning/userchap12
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup) แต่เมื่อเชื่อมโยงหลายๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกัน ก็จะเป็นเครือข่ายขององค์กร และถ้าเชื่อมโยงระหว่างองค์กรผ่านเครือข่ายแวน ก็จะได้เครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวาง และสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้ ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
1.การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้
อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
2. การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกันได
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย
LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระยะไกลได้ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine) เป็นต้น
3. ความประหยัด
ตัวอย่างเช่นในสำนักงานแห่งหนึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการ
นำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามี
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แล้วสามารถใช้เครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถใช้งานเครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้ที่อยู่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน
4. สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้
องค์กรธุรกิจที่มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ กับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น
                5. ความเชื่อถือได้ของระบบงาน 
นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่า ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้งาน จะทำให้ระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เราสามารถทำการสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที
http://www.thaigoodview.com/
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    คอมพิวเตอร์เครือข่าย (Computer Network) เป็นรูปแบบการสื่อสารที่มีประโยชน์ต่อการทำงานของมนุษย์อย่างมาก ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นด้าน ๆ ได้ดังต่อไปนี้
 1.     การใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ร่วมกัน
    การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเพื่อการใช้งานทรัพยากรคอมพิวเตอร์ร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น ในสำนักงานแห่งหนึ่งมีคอมพิวเตอร์จำนวน 10 เครื่อง ทุกเครื่องมีการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และมีการใช้อุปกรณ์สำนักงานร่วมกัน เช่นเครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศในเครือข่าย โดยไม่ต้องทำการสำเนาข้อมูลในรูปแบบของ Sneakernet
2 .   การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
   การเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกจุดที่เชื่อมต่อเครือข่ายเช่นลูกค้าธนาคารสามารถทำธุรกรรมฝากถอนเงินในบัญชีเงินฝากได้ทุกสาขาทั่วประเทศโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังสาขาที่เปิดบัญชีเงินฝาก หรือในกรณีประชาชนโดยทั่วไปแจ้งความประสงค์ขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ สามารถแจ้งความประสงค์ขอมีบัตรประจำตัวประชาชนที่สำนักงานทะเบียนที่อยู่ใกล้ที่สุดได้เลย โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางกลับภูมิลำเนาของตน เป็นต้น
   3.    ประหยัดงบประมาณด้านการสื่อสาร    เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และระยะไกลได้ จึงส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายต้นทุนในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และลดต้นทุนการจัดซื้อทรัพ ยากรที่สามารถใช้งานร่วมกันได้เช่นประหยัดต้นทุนค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์  หรือลดต้นทุนในการจัดหาอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ในสำนักงาน เครื่องพิมพ์ เพราะสามารถใช้งานร่วมกันในเครือข่ายได้ เป็นต้น

 4.    การสื่อสารสะดวกรวดเร็ว    เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น สามารถทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ส่งผลให้ผู้ใช้งานสามารถปฏิบัติงาน หรือมีเวลาเหลือสำหรับงานอย่างอื่นได้อีก ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่า คุณสมศรี เป็นพนักงานบริษัทที่จะต้องส่งเอกสารใบเสนอราคาให้ลูกค้าจำนวนมาก ณ ที่ทำการไปรษณีย์ ใกล้สำนักงาน หลังจากนั้นจะต้องเดินทางไปธนาคารโอนเงินค่าวัสดุสำนักงานให้เจ้าหนี้ ซึ่งคุณสมศรีจะต้องเดินทางด้วยรถยนต์ของตัวเองหรือรถของบริษัทที่มีพนักงานขับรถเพื่ออำนวยความ สะดวก ต้องจ่าหน้าซองเอกสารทุกฉบับเพื่อส่งถึงลูกค้า และเพื่อให้เอกสารถึงลูกค้าให้เร็วที่สุด สมศรีจะต้องส่งเอกสารแบบด่วนพิเศษ หรือEMSหลังจากนั้นสมศรีจะต้องเดินทางไปที่ธนาคารเพื่อโอนเงินเข้าบัญชีเจ้าหนี้ค่าวัสดุสำนักงาน  แต่ถ้าสมศรีมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สมศรีจะส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) ให้กับกลุ่มลูกค้า และสามารถเข้าทำธุรกรรมทางการเงิน (E-Banking) โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยให้สมศรีประหยัดเวลา ประหยัดต้นทุน ไม่ต้องเดินทางเอง ไม่ต้องใช้รถยนต์หรือคนขับรถของบริษัท นอกจากนี้ สมศรียังเหลือเวลาในการทำงานสำนักงานอย่างอื่นเพิ่มเติม
5    ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของระบบ
    ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นอกจากจะมีประโยชน์ต่อองค์กรหรือหน่วยงานแล้ว ยังเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านข้อมูลและสารสนเทศอีกด้วย เพราะในเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีการกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งานในการเข้าถึง หรอการทำธุรกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการรักษาความมั่งคงของข้อมูลและสารสนเทศ เกิดความน่าเชื่อถือขององค์กร มีการสื่อสารและประมวลผลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างเป็นระบบ ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าของธนาคารเลือกใช้บริการการฝาก-ถอนเงินจากตู้รับฝาก-ถอนเงินมากยิ่งขึ้น เพราะมีความสะดวกสบาย กว่าการเข้าคิวรอการทำธุรกรรมในธนาคาร สามารถเลือกใช้บริการในช่วงระยะเวลามากกว่า เวลาเปิดทำงานปกติของสำนักงานธนาคาร และมีความน่าเชื่อถือสูง เป็นต้น
6 .   การแบ่งภาระการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์    ในอดีตก่อนที่จะมีการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องทำการประมวลผลลำพังเครื่องเดียวไม่สามารถกระจายงานให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเพื่อช่วยประมวลผลได้ แต่ถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อระบบเครือข่าย สามารถกระจายงานให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในเครือข่าย ประมวลผลช่วยกัน ทำให้ลดภาวการณ์ทำงานหนัก และการประมวลผลสำเร็จรวดเร็วขึ้น
3.  ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) 
เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย   ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ
2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ MAN) 
เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ MAN
3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN) 
เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานนีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม
ประเภทของระบบเครือข่าย
Peer To Peer
เป็นระบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนระบบเครือข่ายมีฐานเท่าเทียมกัน คือทุกเครื่องสามารถจะใช้ไฟล์ในเครื่องอื่นได้ และสามารถให้เครื่องอื่นมาใช้ไฟล์ของตนเองได้เช่นกัน ระบบ Peer To Peer มีการทำงานแบบดิสทริบิวท์(Distributed System) โดยจะกระจายทรัพยากรต่างๆ ไปสู่เวิร์กสเตชั่นอื่นๆ แต่จะมีปัญหาเรื่องการรักษาความปลอดภัย เนื่องจากข้อมูลที่เป้นความลับจะถูกส่งออกไปสู่คอมพิวเตอร์อื่นเช่นกันโปรแกรมที่ทำงานแบบ Peer To Peer คือ Windows for Workgroup และ Personal Netware
Client / Server
เป็นระบบการทำงานแบบ Distributed Processing หรือการประมวลผลแบบกระจาย โดยจะแบ่งการประมวลผลระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเครื่องไคลเอ็นต์ แทนที่แอพพลิเคชั่นจะทำงานอย ู่เฉพาะบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ก็แบ่งการคำนวณของโปรแกรมแอพพลิเคชั่น มาทำงานบนเครื่องไคลเอ็นต์ด้วย และเมื่อใดที่เครื่องไคลเอ็นต์ต้องการผลลัพธ์ของข้อมูลบางส่วน จะมีการเรียกใช้ไปยัง เครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้นำเฉพาะข้อมูลบางส่วนเท่านั้นส่งกลับ มาให้เครื่องไคลเอ็นต์เพื่อทำการคำนวณข้อมูลนั้นต่อไป
รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย LAN Topology
ระบบ Bus การเชื่อมต่อแบบบัสจะมีสายหลัก 1 เส้น เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อสายเคเบิ้ลหลักเส้นนี้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกมองเป็น Node เมื่อเครื่องไคลเอ็นต์เครื่องที่หนึ่ง (Node A) ต้องการส่งข้อมูลให้กับเครื่องที่สอง (Node C) จะต้องส่งข้อมูล และแอดเดรสของ Node C ลงไปบนบัสสายเคเบิ้ลนี้ เมื่อเครื่องที่ Node C ได้รับข้อมูลแล้วจะนำข้อมูล ไปทำงานต่อทันที
แบบ Ring การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้ ระบบ Ring มีการใช้งานบนเครื่องตระกูล IBM กันมาก เป็นเครื่องข่าย Token Ring ซึ่งจะใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องมินิหรือเมนเฟรมของ IBM กับเครื่องลูกข่ายบนระบบ
แบบ Star การเชื่อมต่อแบบสตาร์นี้จะใช้อุปกรณ์ Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ โดยที่ทุกเครื่องจะต้องผ่าน Hub สายเคเบิ้ลที่ใช้ส่วนมากจะเป้น UTP และ Fiber Optic ในการส่งข้อมูล Hub จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ปัจจุบันมีการใช้ Switch เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่า
แบบ Hybrid เป็นการเชื่อมต่อที่ผสนผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน
เครือข่ายแบบไร้สาย ( Wireless LAN) อีกเครือข่ายที่ใช้เป็นระบบแลน (LAN) ที่ไม่ได้ใช้สายเคเบิลในการเชื่อมต่อ นั่นคือระบบเครือข่ายแบบไร้สาย ทำงานโดยอาศัยคลื่นวิทยุ ในการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์ในเรื่องของการไม่ต้องใช้สายเคเบิล เหมาะกับการใช้งานที่ไม่สะดวกในการใช้สายเคเบิล โดยไม่ต้องเจาะผนังหรือเพดานเพื่อวางสาย เพราะคลื่นวิทยุมีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางอย่าง กำแพง หรือพนังห้องได้ดี แต่ก็ต้องอยู่ในระยะทำการ หากเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปไกลจากรัศมีก็จะขาดการติดต่อได้ การใช้เครือข่ายแบบไร้สายนี้ สามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์พีซี และโน๊ตบุ๊ก และต้องใช้การ์ดแลนแบบไร้สายมาติดตั้ง รวมถึงอุปกรณ์ที่เรียกว่า Access Point ซึ่งเป็นอุปกรณ์จ่ายสัญญาณสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย มีหน้าที่รับส่งข้อมูลกับการ์ดแลนแบบไร้สาย
ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) 
เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ
2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ MAN) 
เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ MAN
3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN) 
เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม

ประเภทของเครือข่าย LAN
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเฉพาะบริเวณแลนนั้น จุดประสงค์หลักอย่างหนึ่งก็คือการแบ่งกันใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ โดยทรัพยากรเหล่านั้นอาจเป็นหน่วยประมวลผลกลาง CPU ความเร็วสูง ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ หรือแม้แต่อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะเชื่อมอยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง วิธีการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดสรรการใช้งานทรัพยากรในระบบเครือข่ายสามารถจำแนกได้เป็น 2 รูปแบบคือ 

1. เครือข่ายแบบพึ่งเครื่องบริการ (Client/Server - based networking) 

เป็นการเชื่อมต่อโดยมีเครื่องบริการอยู่ศูนย์กลาง ทำหน้าที่ในการให้บริการต่าง ๆ ที่เครื่องผู้ใช้หรือสถานีงาน (Workstation) ร้องขอ รวมทั้งเป็นผู้จัดการดูแลการจราจรในระบบเครือข่ายทั้งหมด นั่นคือการติดต่อกันระหว่างเครื่องต่าง ๆ จะต้องผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เครื่องผู้ใช้จะทำการประมวลผลในงานของตนเท่านั้น ไม่มีหน้าที่ในการให้บริการกับเครื่องอื่น ๆ ในระบบ 
เครื่องผู้บริการในระบบเครือข่ายชนิดนี้อาจมีได้ 2 รูปแบบคือ 
เครื่องบริการแบบอุทิศ (Dedicated Server) หมายถึงเครื่องบริการทำหน้าที่บริการอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในงานทั่ว ๆไปได้ ข้อดีคือทำให้ระบบมีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพสูง ข้อเสียคือไม่สามารถใช้งานเครื่องที่มีราคาสูงได้ 

 เครื่องบริการแบบไม่อุทิศ (Non - Dedicated Server) หมายถึงเครื่องบริการยังสามารถใช้งานได้ตามปกติเหมือนเครื่องลูกข่าย ซึ่งมีข้อเสียที่สำคัญคือมีประสิทธิภาพของเครือข่ายจะลดลง ทำให้วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมในการใช้งาน 
2. เครือข่ายแบบเท่าเทียม (Peer - to Peer networking) 
เป็นการเชื่อมต่อที่เครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายมีสถานะเท่าเทียมกันหมด โดยเครื่องทุกเครื่องสามารถเป็นได้ทั้งเครื่องผู้ใช้และเครื่องบริการในขณะใดขณะหนึ่ง นั่นคือเครื่องทุกเครื่องเปรียบเสมือนกับเป็นเครื่องบริการแบบไม่อุทิศ(Non - Dedicated Server) นั่นเอง ในระบบเครือข่ายประเภทนี้การติดต่อระหว่างแต่ละเครื่องจะสามารถติดต่อกันได้โดยตรง มีข้อเสียคือประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลด้อยกว่าแบบแรก ทำให้ไม่เหมาะกับระบบที่มีการใช้งานการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายมาก ๆ
ประเภทของเครือข่ายแบ่งตามหน้าที่ของคอมพิวเตอร์
ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นการจำแนกเครือข่ายตามขนาดพื้นที่ที่เครือข่ายครอบคลุม การจำแนกประเภทของเครือข่ายยังสามารถจำแนกได้โดยใช้ลักษณะการแชร์ข้อมูลของคอมพิวเตอร์ หรือหน้าที่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของเครือข่าย ซึ่งเมื่อใช้หลักการนี้แล้วเราสามารถแบ่งเครือข่ายออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
เครือข่ายแบบเท่าเทียม (Peer-to-peer Network)
เครือข่ายแบบผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ (Client/Server Network)
หน้าที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
 แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
เซิร์ฟเวอร์ (Server) คือคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ ให้แก่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
ไคลเอนท์ (Client) คือคอมพิวเตอร์ที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ของเซิร์ฟเวอร์
รูปนี้เป็นตัวอย่างเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนท์ เครื่องเซิร์ฟเวอร์ในรูปนี้จะให้บริการเกี่ยวกับพื้นที่เก็บข้อมูลและจัดการเกี่ยวกับเครื่องพิมพ์ เครื่องไคลเอนท์เมื่อต้องการที่จะพิมพ์หรือบันทึกข้อมูลก็จะติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์โดยให้เซิร์ฟเวอร์จัดการให้
โดยปกติเมื่อมีคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องถูกเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายแล้ว มักจะมีคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่เป็น "เซิร์ฟเวอร์" ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ เช่น เป็นศูนย์กลางในการจัดข้อมูล ไฟล์ หรือ โปรแกรมต่างๆ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับทรัพยากรที่อยู่ในระบบเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ CD-ROM เป็นต้น ซึ่งการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ร่วมกันทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในอุปกรณ์เหล่านี้ได้ ส่งคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเซิร์ฟเวอร์เพื่อที่จะใช้บริการดังกล่าวเรียกว่า "ไคลเอนท์" การ ที่เซิร์ฟเวอร์จะให้บริการแก่ผู้ใช้หลายๆ คนจำเป็นต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพดีพอ ดังนั้นเครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ปกติจะมีราคาแพงกว่าเครื่องไคลเอนท์ทั่วไป
ในระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่มีคอมพิวเตอร์จำนวนไม่กี่เครื่อง ไม่จำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์อย่างเดียวเสมอไป การสื่อสารอาจเป็นไปในรูปแบบเพียร์ทูเพียร์ หรือคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทำหน้าที่เป็นทั้งเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนท์ในเวลาเดียวกัน คำว่า "Peer" แปลว่าเท่าเทียมกัน ดังนั้นเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นี้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะทำหน้าที่คล้ายกันคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแบบนี้ยังคงสามารถที่จะรับส่งข้อมูลถึงกันและกันได้ สามารถถ่ายโอนไฟล์ไปยังฮาร์ดดิสก์ของอีกเครื่องหนึ่งได้ หรือแม้แต่ใช่เครื่องพิมพ์ร่วมกันได้ อย่างไรก็ตามเมื่อเครือข่ายมีการขยายใหญ่ขึ้น การมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะมีความสะดวกต่อการจัดการระบบเครือข่าย เช่น การจัดการพื้นที่เก็บข้อมูล การควบคุมการใช้เครื่องพิมพ์ และการอัพเกรดโปรแกรมต่างๆ เป็นต้น

เครือข่ายทั้งสองประเภทคือ เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ และเครือข่ายแบบไคลเอนท์ เซิร์ฟเวอร์นั้นมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ซึ่งการเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของเครือข่าย สิ่งที่ต้องพิจารณามีดังนี้
1. จำนวนผู้ใช้ หรือจำนวนคอมพิวเตอร์
2. การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
3. การดูแลและจัดการระบบ
4. ปริมาณข้อมูลที่รับส่งผ่านเครือข่าย
5. ความต้องการใช้ทรัพยากรเครือข่ายของผู้ใช้แต่ละคน
6. งบประมาณ
เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer Network)
เครือข่ายประเภทนี้จะไม่มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และไม่มีการแบ่งชั้นความสำคัญของคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีสิทธิเท่าเทียมกันในการจัดการใช้เครือข่าย ซึ่งเรียกว่า เพียร์ (Peer) นั่นเองคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะทำหน้า ที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์แล้วแต่การใช้งานของผู้ใช้เครือข่ายระเภทนี้ ไม่จำเป็นต้องมีผู้ดูและและจัดการระบบ หน้าที่นี้จะกระจายไปยังผู้ใช้แต่ละคน เนื่องจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเป็นคนกำหนดว่าข้อมูลหรือทรัพยากรใดบ้างของเครื่องนั้นที่ต้องการแชร์กับผู้ใช้อื่นๆ 
การใช้งานแบบเพียร์ทูเพียร์ บางทีก็เรียกว่า "เวิร์คกรุ๊ป(Workgroup)" หรือกลุ่มของคนที่ทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งส่วนมากจะมีจำนวนน้อยกว่าสิบคน เครือข่ายประเภทนี้จะเป็นแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อนมากเนื่องจากคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทำหน้าที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์ ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นที่ต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงซึ่งมีราคาแพงมาก ดังนั้นราคารวมของเครือข่ายจึงถูกกว่าเครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์เพราะต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีราคาแพงทำหน้าที่จัดการเครือข่าย
ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นซอฟต์แวร์ ที่มีฟังก์ชัน และระบบรักษาความปลอดภัยเท่ากับระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่าย แบบเพียร์ทูเพียร์ อาจจะใช้แค่วินโดวส์ 95/98/Me ในขณะที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์อาจต้องใช้วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์2000/2003 ซึ่งราคาของระบบปฏิบัติการนี้จะแพงกว่ากันมากเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นี้เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมดังต่อไปนี้

1. มีผู้ใช้เครือข่าย 10 คน หรือน้อยกว่า
2. มีทรัพยากรเครือข่ายที่ต้องแชร์กันไม่มากนัก เช่น ไฟล์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ซึ่งยัง ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่หน้าที่ทางด้านนี้โดยเฉพาะ
3. ยังไม่มีความจำเป็นในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
4. การขยายตัวของเครือข่ายไม่มากนักในอนาคตอันใกล้
เมื่อสถานการณ์เป็นดังที่ว่านี้ ก็ควรจะสร้างเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ เนื่องจากเหมาะสมกว่าที่จะสร้างเครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ต้องมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ามาก ถึงแม้ว่าเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นี้จะเหมาะกับเครือข่ายขององค์กรขนาดเล็ก แต่ก็ไม่เหมาะสมกับทุกๆ สภาพแวดล้อมเสมอไปสำหรับองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายใช้ ควรที่จะมีบุคลากรที่ทำหน้าที่ดูแลและจัดการระบบ ซึ่งจะทำหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ให้การช่วยเหลือผู้ใช้เกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆ และการใช้เครือข่าย
2. ดูแลข้อมูลและกำหนดการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
3. สร้างการแชร์ทรัพยากรต่างๆ 
4. ดูแลรักษาซอฟต์แวร์ เช่น การติดตั้งและอัพเกรดซอฟต์แวร์ต่างๆ รวมทั้งระบบปฏิบัติการ
5. บำรุงรักษาอุปกรณ์เครือข่าย และแก้ปัญหาต่างๆ ของเครือข่าย


      ในเครือข่ายหนึ่งผู้ใช้ทุกคนสามารถกำหนดการแชร์ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครื่องตัวเองได้ ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้จะรวมถึงไดเร็คทอรีที่จะแชร์ในฮาร์ดดิสก์ตัวเอง เครื่องพิมพ์ แฟกซ์ เป็นต้น ในสภาพแวดล้อมทั่วๆ ไป ของเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นั้น ผู้ใช้ที่เป็นเจ้าของเครื่องจะใช้ทรัพยากรส่วนใหญ่ของคอมพิวเตอร์ตัวเอง ส่วนผู้ใช้คนอื่นจะใช้ทรัพยากรบางส่วนผ่านทางเครือข่าย ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่มีคนใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์ นอกจากผู้ดูแลระบบที่ใช้เครื่องในการจัดการต่างๆ เท่านั้น
การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล หมายถึง การทำให้ข้อมูลปลอดภัยจากการนำไปใช้โดยผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือมีสิทธิ์ ส่วนวิธีการนั้นอาจมีหลายวิธี เช่น การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล หรือกำหนดรหัสลับในการเข้าใช้ข้อมูลที่ได้แชร์ไว้ เป็นต้น ในสภาพแวดล้อมแบบเพียร์ทูเพียร์ ผู้ใช้แต่ละคนต้องกำหนดรหัสลับกับทุกทรัพยากรที่แชร์ไว้ ซึ่งวิธีการนี้ทำให้ไม่สามารถรวมศูนย์ควบคุมเพื่อการรักษาความปลอดภัย การทำเช่นนี้อาจก่อให้เกิดช่อง โหว่เพราะผู้ใช้บางคนอาจจะไม่ได้กำหนดระดับความปลอดภัยในเครื่องตัวเองเลย ถ้าหากความปลอดภัยของข้อมูลมีความสำคัญ เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์จะเหมาะสมกว่า เพราะง่ายต่อการรักษาความปลอดภัย
เนื่องจากคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายประเภทนี้จะทำหน้าที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์ ดังนั้นผู้ใช้แต่ละคนควรที่จะได้รับการฝึกอบรมให้เป็นได้ทั้งผู้ใช้และผู้ดูแลระบบในเวลาเดียวกัน ซึ่งอาจจะเป็นการยากเนื่องจากผู้ใช้แต่ละคนอาจมีงานอื่นที่ต้องทำมาก

 เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server Network)
        ถ้าระบบเครือข่ายมีคอมพิวเตอร์จำนวนไม่มากนัก ควรสร้างเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ เนื่องจากง่ายและค่าใช้จ่ายจะถูกกว่า แต่เมื่อเครือข่ายมีการขยายใหญ่ขึ้น จำนวนผู้ใช้มากขึ้น การดูแลและจัดการระบบก็จะซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เครือข่ายจำเป็นที่ต้องมีเซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่จัดการเรื่องต่างๆ และให้บริการอื่นๆ เครื่องเซิร์ฟเวอร์นั้นควรที่จะเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงและสามารถให้บริการกับผู้ใช้ได้หลายๆ คนในเวลาเดียวกัน และในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการเข้ามาใช้บริการและทรัพยากรต่างๆ ของผู้ใช้เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์เป็นระบบที่ส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นมาตรฐานของการสร้างเครือข่ายในปัจจุบันแล้ว ถึงแม้ว่าการติดตั้ง การกำหนดค่าต่างๆ และการดูและและจัดการเครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์จะค่อนข้างยากกว่าแบบเพียร์ทูเพียร์ก็ตาม แต่เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ก็มีข้อได้เปรียบอยู่หลายข้อดังต่อไปนี้

เซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่ให้บริการด้านต่างๆ แก่ผู้ใช้ ในขณะเดียวกันก็ควบคุมและรักษาความปลอดภัยข้อมูลด้วยเครือข่ายแบบเคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์จะรวมศูนย์การดูแลและจัดการเครือข่ายพร้อมทั้งควบคุมการเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรที่มีการแชร์ในเครือข่าย เนื่องจากว่าทรัพยากรเหล่านี้ถูกเก็บรวมไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์จึงทำให้ง่ายต่อการค้นหาและจัดการมากกว่าทรัพยากรที่ถูกเก็บไว้กระจัดกระจายตามเครื่องไคลเอนท์ต่างๆ เหมือนดังในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์
ความปลอดภัยของข้อมูลอาจเป็นหนึ่งในจุดประสงค์หลักที่ทำให้ต้องเลือกเครือข่ายแบบ ไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ เพราะในสภาวะแวดล้อมอย่างนี้ผู้ดูระบบสามารถกำหนดนโยบายการรักษาความปลอดภัยและบังคับใช้กับผู้ใช้ทุกคนในเครือข่ายได้ ทำให้การรักษาความปลอดภัยง่ายขึ้น
ข้อมูลถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร ถ้าข้อมูลเกิดความเสียหายอาจมีผลกระทบต่อองค์กรมากความเสียหายที่อาจเกิดกับข้อมูลนั้นอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่เราสามารถป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้วิธีหนึ่งก็คือการสำรองข้อมูล เพื่อเมื่อเซิร์ฟเวอร์ล้มเหลวก็สามารถกู้คืนได้ การเก็บสำรองข้อมูลสามารถทำได้วันละหลายๆ ครั้ง หรือสัปดาห์ละครั้ง ขึ้นอยู่กับความสำคัญของข้อมูลและความถี่ของการเปลี่ยนแปลงข้อ มูล ผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดให้เซิร์ฟเวอร์ทำการบันทึกข้อมูลสำรองโดยอัตโนมัติไม่ว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะตั้ง ณ จุดใดในเครือข่าย
เนื่องจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มีโปรแกรมอเนกประสงค์ที่ใช้ในการจัดการเครือข่ายหลาย อย่าง จึงทำให้เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์สามารถรองรับผู้ใช้ได้เป็นพันๆ คน ซึ่งในสภาพแวดล้อมอย่างนี้ไม่สามารถทำได้ในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ เนื่องจากการจัด การเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นั้นไม่ใช่แบบรวมศูนย์ ทำให้การจัดการผู้ใช้นับพันนั้นเป็นงานที่เป็นไปไม่ได้

ประเภทของเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการแบบต่างๆ 
เมื่อเครือข่ายมีการขยายตัวหรือจำนวนผู้ใช้ ระยะห่างระหว่างคอมพิวเตอร์และปริมาณข้อมูลที่ถ่ายโอนผ่านเครือข่ายเพิ่มขึ้น อาจจะต้องมีจำนวนเซิร์ฟเวอร์เพิ่มขึ้นด้วย การกระจายหน้าที่ของเซิร์ฟเวอร์ไปหลายๆ เครื่อง เพื่อให้เซิร์ฟเวอร์แต่ละเครื่องทำหน้าที่เฉพาะอย่าง จะมีประสิทธิภาพมากกว่าเซิร์ฟเวอร์ตัวเดียวแต่ให้บริการหลายอย่าง
เซิร์ฟเวอร์ต้องสามารถที่จะทำหน้าที่ที่ซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เซิร์ฟเวอร์ ของเครือข่ายขนาดใหญ่ถูกกำหนดให้ทำหน้าที่เฉพาะอย่างเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้น ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างเซิร์ฟเวอร์ชนิดต่างๆ ที่ส่วนใหญ่มีในเครือข่ายขนาดใหญ่ทั่วๆ ไป
ไฟล์และพรินต์เซิร์ฟเวอร์ (File and Print Server)
ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server) จะให้บริการเกี่ยวกับพื้นที่เก็บไฟล์ต่างๆ ซึ่งเซิร์ฟเวอร์ประเภทนี้จะมีฮาร์ดดิสก์ที่สามารถบรรจุข้อมูลได้เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้ ส่วนพรินต์เซิร์ฟเวอร์ (Print Server) ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการใช้เครื่องพิมพ์ที่พ่วงต่อเข้ากับเครือข่าย

แอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ (Application Server)
แอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ (Application Server) ทำหน้าที่ให้บริการเกี่ยวกับโปรแกรมและข้อมูลที่เกี่ยวกับโปรแกรมนั้นๆ ตัวอย่างเช่น เซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล ซึ่งจะทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ให้ง่ายต่อการเรียกดูของผู้ใช้ เซิร์ฟเวอร์ชนิดนี้จะแตกต่างจากไฟล์เซิร์ฟเวอร์ตรงที่ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่ทางด้านเซิร์ฟเวอร์ตลอดเวลา ในขณะที่ถ้าเป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์แล้วไคลเอนท์ต้องดาวน์โหลดไฟล์ไปทำการเปลี่ยนแปลงที่ทางฝั่งไคลเอนท์ แล้วค่อยนำกลับมาเก็บไว้ที่ทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์อีกที
ไคลเอนท์ของแอพพลิเคชันจะรันโปรแกรมบนไคลเอนท์ แต่จะดึงข้อมูลมาจากทางฝั่งของเซิร์ฟเวอร์ เช่น การค้นหาข้อมูลของลูกค้าจากเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล เฉพาะข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการเท่านั้นที่จะถูกส่งมาให้ทางฝั่งไคลเอนท์ แทนที่จะเป็นข้อมูลทั้งฐานข้อมูล

อินเตอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ (Internet Server)
ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตมีผลกระทบกับเครือข่ายในปัจจุบันอย่างมาก อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่และมีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก เทคโนโลยีที่ทำให้อินเตอร์เน็ตเป็นที่นิ ยมคือ เว็บ และอีเมลล์ เพราะทั้งสองแอพพลิเคชั่นทำให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและสื่อสารกันง่ายและรวดเร็ว
เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการข้อมูลในรูปแบบ HTML (Hyper Text Markup Language) ซึ่งไฟล์นี้สามารถเปิดอ่านได้โดยใช้เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) อย่างเช่น Internet Explorer เป็นต้น ปัจจุบันแทบทุกองค์ กรจะมีเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้บริการข้อมูลต่อพนักงานหรือผู้ใช้ทั่วไป
เมล์เซิร์ฟเวอร์ (Mail Server) คือเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการในการรับ-ส่ง จัดเก็บ และจัด การเกี่ยวกับอีเมลล์ของผู้ใช้ ซึ่งอาจจะเป็นอีเมลล์ที่ใช้ได้เฉพาะภายในองค์กร หรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต ขึ้นอยู่กับนโยบายการใช้งานของเครือข่าย

ไดเร็คทอรีเซิร์ฟเวอร์ (Directory Server)
ไดเร็คทอรีเซอร์วิส (Directory Service) คือการให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรของเครือข่ายพร้อมทั้งควบคุมการเข้าใช้ทรัพยากรเหล่านั้น ข้อมูลที่ว่านี้ อย่างเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้ เครื่องพิมพ์ ไฟล์เซิร์ฟเวอร์เป็นต้น ถ้าเครือข่ายมีขนาดใหญ่มากๆ การดูแลและจัดการทรัพยากรต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นเรื่องที่ยากและซับซ้อนมาก ไดเร็คทอรีเซิร์ฟ เวอร์ (Directory Server) จะทำให้งานนี้มีความซับซ้อนน้อยลง อย่างไรก็ตามการรักษาความปลอดภัยในเครือข่ายนั้นสิ่งที่สำคัญก็คือ นโยบายการรักษาความปลอดภัย ซึ่งแต่ละองค์กรต้องกำหนดนโยบายให้แน่ชัด และมีการบังคับใช้นโยบายอย่างเคร่งครัด เช่น ก่อนที่จะใช้งานเครือข่ายนั้นจะต้องมีการล็อกอินก่อนทุกครั้ง และมีการกำหนดสิทธิของผู้ใช้แต่ละคนให้ชัดเจนด้วย

ประเภทของเครือข่ายแบ่งตามระดับความปลอดภัยของข้อมูล
อีกวิธีหนึ่งในการแบ่งประเภทเครือข่ายคือ การใช้ระดับความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ อินเตอร์เน็ต (Internet), อินทราเน็ต (Intranet) และ เอ็กส์ตราเน็ต (Extranet) อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ทุกคนสามารถเชื่อมต่อเข้าได้ เครือข่ายนี้จะไม่มีความปลอดภัยของข้อมูลเลย ถ้าทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่แชร์ไว้บนอินเตอร์เน็ตได้ ในทางตรงกันข้าม อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคล ถ้าทุกคนสามา รถเข้าถึงข้อมูลที่แชร์ไว้บนอินเตอร์เน็ตได้ ในทางตรงกันข้าม อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลข้อมูลจะถูกแชร์เฉพาะผู้ใช้ที่อยู่ข้างในเท่านั้น หรือผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไม่สามารถเข้ามาดูข้อมูลในอินทราเน็ตได้ ถึงแม้ว่าทั้งสองเครือข่ายจะมีการเชื่อมต่อกันอยู่ก็ตาม ส่วนเอ็กส์ตราเน็ตนั้นเป็นเครือข่ายแบบกึ่งอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ตกล่าวคือ การเข้าใช้เอ็กส์ตราเน็ทมีการควบคุมเอ็กส์ตราเน็ตส่วนใหญ่จะเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลบางอย่างซึ่งกันและกัน ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลนี้ต้องมีการควบคุม เพราะเฉพาะข้อมูลบางอย่างเท่านั้นที่ต้องการแลกเปลี่ยน
สิ่งที่ทำให้การแยกเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กส์ตราเน็ตออกจากกันได้นั้น ก็โดยการใช้ไฟร์วอลล์ (Firewall) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ที่คอยควบคุมการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างแต่ละเครือข่าย รายละเอียดเกี่ยวกับไฟร์วอลล์และการรักษาความปลอดภัยในเครือข่ายนั้นจะได้กล่าวถึงต่อไป

อินเตอร์เน็ท ( Internet)
อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี อินเตอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระโดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่างๆ ที่ถูกตีพิมพ์ใน อินเตอร์เน็ตได้ อินเตอร์เน็ตเชื่อมแหล่งข้อมูลต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจมหา วิทยาลัย หน่วยงานของรัฐบาล หรือแม้กระทั่งแหล่งข้อมูลบุคคล องค์กรธุรกิจหลายองค์ กรได้ใช้อินเตอร์เน็ตช่วยในการทำการค้า เช่น การติดต่อซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตหรืออีคอมเมิร์ช (E-Commerce) ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการทำธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยมเนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าและมีฐานลูกค้าที่ใหญ่มาก ส่วนข้อเสียของอินเตอร์เน็ต ความปลอด ภัยของข้อมูล เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่แลกเปลี่ยนผ่านอินเตอร์เน็ตได้
อินเตอร์เน็ตใช้โปรโตคอลที่เรียกว่า "TCP/IP (Transport Connection Proto col/Internet Protocol)" ในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้เป็นผลจากโครงการหนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โครงการนี้มีชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ในปี ค.ศ. 1975 จุดประสงค์ของโครงการนี้เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกัน และภายหลังจึงได้กำหนดให้เป็นโปรโตคอลมาตรฐานในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ในปัจจุบันอินเตอร์เน็ตได้กลายเป็นเครือข่ายสาธารณะ ซึ่งไม่มีผู้ใดหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตต้องเชื่อมต่อผ่านองค์กรที่เรียกว่า "ISP (Internet Service Provider)" ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต เนื่องจากอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะจึงไม่มีหลักประกันความปลอดภัยของข้อมูลที่ส่งผ่านอินเตอร์เน็ต นั่นคือ ข้อมูลทุกอย่างที่ส่งผ่านเครือข่าย ทุกคนสามารถดูได้ นอกเสียจากจะมีการเข้ารหัสลับซึ่งผู้ใช้ต้องทำเอง

อินทราเน็ต (Intranet)
ตรงกันข้ามกับอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต เช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้างเครือข่ายไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้อินทราเน็ตทำงานได้ อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์การสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้น การแชร์ข้อมูลจะอยู่ในเฉพาะในอินทราเน็ตเท่านั้น หรือถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโลกภายนอกหรืออินเตอร์เน็ต องค์ กรนั้นสามา รถที่จะกำหนดนโยบายได้ในขณะที่การแชร์ข้อมูลในอินเตอร์เน็ตนั้นยังไม่มีองค์กรใดที่สามารถควบคุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต พนักงานของบริษัทสามารถติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกเพื่อการค้นหาข้อมูลหรือทำธุรกิจต่างๆ การใช้โปรโตคอล TCP/IP ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้เครือข่ายจากที่ห่างไกลได้ (Remote Access) เช่น จากที่บ้าน หรือในเวลาที่ต้องเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ การเชื่อมต่อเข้ากับอินทราเน็ต โดยการใช้โมเด็มและสายโทรศัพท์ ก็เหมือนกับการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต แต่แตกต่างกันที่เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายส่วนบุคคลแทนที่จะเป็นเครือข่ายสาธารณะอย่างเช่น อินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่อกันได้ระหว่างอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตถือเป็นประโยชน์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง
ระบบรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งที่แยกอินทราเน็ตออกจากอินเตอร์เน็ต เครือข่ายอินทราเน็ต ขององค์กรจะถูกปกป้องโดยไฟร์วอลล์ (Firewall) ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่กรองข้อมูลที่แลกเปลี่ยนกันระหว่างอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตเมื่อทั้งสองระบบมีการเชื่อมต่อกัน ดังนั้นองค์กรสามารถกำหนดนโยบายเพื่อควบคุมการเข้าใช้งานอินทราเน็ตได้
อินทราเน็ตสามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ในองค์กรได้หลายอย่าง ความง่ายในการตีพิมพ์บนเว็บทำให้เป็นที่นิยมในการประกาศข่าวสารขององค์กร เช่น ข่าวภายในองค์กร กฎ ระเบียบ และมาตรฐาน การปฏิบัติงานต่างๆ เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการเข้าถึงฐานข้อมูลขององค์กรก็ง่ายเช่นกัน ผู้ใช้สามารถทำงานร่วมกันได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซอฟต์แวร์ที่เรียกว่ากรุ๊ปแวร์(Groupware) เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของอินทราเน็ต เพราะเป็นซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้สมาชิกในกลุ่มทำงานร่วมกันในโปรเจ็กต์ที่ได้รับมอบหมายและเปลี่ยนข้อมูลประชุมระยะไกล (Video Conferencing) และสร้างระเบียบปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานในการทำงานได้ด้วย ซอฟต์แวร์ฟรี เช่น นิวส์กรุ๊ป (New sgroups) ยิ่งกระตุ้นการขยายตัวของเครือข่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งความยิ่งใหญ่ของอินเตอร์เน็ตทำให้อินทราเน็ตขยายตัวขึ้นเช่นกัน ความง่ายในการเลือกแชร์ข้อมูลและการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลยิ่งทำจะทำให้การใช้อินทราเน็ตเป็นที่นิยมมากขึ้นเท่านั้น
เอ็กส์ตราเน็ต (Extranet)
เอ็กส์ตราเน็ต (Extranet)
เป็นเครือข่ายกึ่งอินเตอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ตราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือบริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อ มูลที่ทั้งสององค์กรจะต้องตกลงกัน เช่น องค์กรหนึ่งอาจจะอนุญาตให้ผู้ใช้ของอีกองค์กรหนึ่งล็อกอินเข้าระบบอินทราเน็ตของตัวเองหรือไม่ เป็นต้น การสร้างเอ็กส์ตราเน็ตจะเน้นที่ระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูล รวมถึงการติดตั้งไฟร์วอลล์หรือระหว่างอินทราเน็ตและการเข้ารหัสข้อมูลและสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ นโยบายการรักษาความปลอดภัยข้อ มูลและการบังคับใช้

รูปแบบของเครือข่ายที่ใช้กันมากในปัจจุบัน
ส่วนใหญ่การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเริ่มจากเครือข่ายขนาดเล็กก่อน ตามขนาดธุรกิจขององค์กรหรือบริษัทนั้นๆ เมื่อธุรกิจมีการขยายตัวเครือข่ายก็ขยายตัวใหญ่ตามขนาดขององค์กร เพื่อรองรับงานของพนักงานที่เพิ่มขึ้น สำหรับการสร้างเครือข่ายครั้งแรกนั้น ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์ 1-2 เครื่อง และคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากันเป็นระบบเครือข่ายประมาณ 5-20 เครื่อง เชื่อมต่อเป็นเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ตและก็อาจมีการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตโดยอาจจะใช้โมเด็ม 1-2 ตัวและสายโทรศัพท์ ซึ่งเมื่อเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายแล้วผู้ใช้สามารถแชร์เอกสารต่างๆ เช่น ไฟล์เวิร์ด เอ็กเซล หรือเพาเวอร์พอยท์ หรือแม้กระทั่งรายงานต่างๆที่เกี่ยวกับลูกค้า เมื่อต้องการติดต่อกับโลกภายนอกหรืออินเตอร์เน็ตก็สามารถทำได้โดยการหมุนโมเด็ม ดังนั้นจึงสามารถรับส่งอีเมลได้ นอกจากนี้ยังสามารถแชร์อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ เครื่องบันทึกแผ่นซีดี เป็นต้น
อย่างไรก็ตามธุรกิจต้องมีการขยายตัว เครือข่ายก็เช่นกันต้องได้รับการปรับปรุงให้สามารถรองรับธุรกิจขององค์กรที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย เมื่อมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นผู้ใช้เพิ่มขึ้นผู้ใช้ก็จะแชร์แบนด์วิธเครือข่าย หรือแชร์ลิงค์เข้ากับอินเตอร์เน็ตผ่านโมเด็ม และเมื่อผู้ใช้เริ่มแลกเปลี่ยนไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น ภาพ เสียง วิดีโอ หรือแอพพลิเคชัน มัลติมีเดียต่างๆ ซึ่งจะมีการส่งไปมาระหว่างไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์ ดังนั้นเครือข่ายอาจจะรองรับไม่ไหว ทางเลือกหนึ่งคือ การปรับปรุงเครือข่ายโดยแบ่งเป็นเครือข่ายย่อยๆ โดยใช้สวิตช์และเราท์เตอร์ ส่วนการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตก็ใช้เราท์เตอร์และสายคู่เช่า (Leased Line) ซึ่งรองรับแบนด์วิธได้มากกว่าโมเด็ม
ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) 
เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย   ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ
2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ MAN) 
เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ MAN
3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN) 
เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานนีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม
ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
          ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งตามลักษณะการเชื่อมต่อทางภูมิศาสตร์ หรือระยะทางการเชื่อมต่อ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 
          1. ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระยะใกล้ภายในสำนักงาน หรืออาคารเดียวกัน หรืออาคารที่อยู่ใกล้กันโดยใช้ สายสัญญาณ ได้แก่ สายโทรศัพท์ สายโคแอกเชียล หรือ สายใยแก้วนำแสงตัวอย่างเช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย ภายในอาคารหรือบริษัทเดียวกัน ระบบเครือข่ายท้องถิ่น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ การปฏิบัติงาน ในด้านการใช้ทรัพยากร ของระบบร่วมกัน หรือสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ ระบบ LAN ช่วยให้มีการติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ร่วมกัน และใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า
             2. ระบบเครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network : MAN) หมายถึง การเชื่อมต่อ เครือข่ายคอมพิวเตอร์  เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ที่มีระยะทางการเชื่อมต่อไกลกว่า ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) แต่ระยะทางยังคงใกล้กว่าระบบ WAN (Wide Area Network) ได้แก่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันภายในเมืองเดียวกันหรือจังหวัดเดียวกัน ในเขตเดียวกัน ตัวอย่างเช่น เคเบิลทีวี
3. ระบบเครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network : WAN) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ระยะไกล เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เช่น ระหว่างประเทศ การเชื่อมต่อเครือข่ายทั่วโลก ติดตั้งใช้งานบริเวณกว้างมีสถานีหรือจุดเชื่อมมากมาย และใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ไมโครเวฟ ดาวเทียม เนื่องจากเป็นการติดต่อสื่อสารระยะไกล อัตราการรับส่งข้อมูลจึงต่ำ และมีโอกาสผิดพลาดได้สูง การสื่อสารระยะไกล จำเป็นต้องมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณ คือ โมเด็ม ช่วยในการติดต่อสื่อสาร และสามารถนำเครือข่าย LAN มาเชื่อมต่อกัน เป็นเครือข่ายระยะไกลได้ ตัวอย่างของเครือข่ายระยะไกล เช่น อินเทอร์เน็ต เครือข่ายระบบงานธนาคารทั่วโลก เครือข่ายของสายการบิน เป็นต้น 
อ้างอิง http://www.blog.eduzones.com/
เครือข่ายท้องถิ่น (LAN)

     เครือข่ายท้องถิ่น (LAN) Local Area Network หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระยะใกล้ภายในสำนักงาน หรืออาคารเดียวกัน หรืออาคารที่อยู่ใกล้กันโดยใช้ สายสัญญาณ ได้แก่ 
เครือข่ายระดับเมือง (MAN)
ระบบเครือข่ายในเขตเมือง (Metropolitan Area Network) หมายถึง ระบบเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่กว่าเครือข่ายท้องถิ่น แต่อาจเชื่อมต่อกันด้วยระบบการสื่อสารสำหรับสาขาหลาย ๆ แห่งที่อยู่ภายในเขตเมืองเดียวกันหรือหลายเขตเมืองที่อยู่ใกล้กัน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร เช่นการให้บริการทั้งของรัฐและเอกชน อาจเป็นบริการภายใน หน่วยงานหรือเป็นบริการสาธารณะก็ได้ รวมถึงการให้บริการระบบโทรทัศน์ทางสาย (Cable television) เช่น บริษัท UBC ซึ่งเป็นระบบที่มีสายเคเบิลเพียงหนึ่งหรือสองเส้นโดยไม่มีอุปกรณ์สลับช่องสื่อสาร (switching element) ทำหน้าที่เก็บกักสัญญาณหรือปล่อยสัญญาณออกไปสู่ระบบอื่น มาตรฐานของระบบ MAN คือ IEEE 802.6 หรือเรียกว่า DQDB (Distributed Queue Dual Bus)
      ตัวอย่างการใช้งานจริง เช่น ภายในมหาวิทยาลัยหรือในสถานศึกษาจะมีระบบแมนเพื่อเชื่อมต่อระบบแลนของแต่ละคณะวิชาเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวกันในวงกว้าง เทคโนโลยีที่ใช้ในเครือข่ายแมนได้แก่ ATM, FDDI และ SMDS ระบบเครือข่ายแมนที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้ คือระบบที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ภายในเมืองเข้าด้วยกันโดยผ่านเทคโนโลยี Wi-Max
เครือข่ายระยะไกล หรือเครือข่ายระดับประเทศ (WAN)
เครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network) เป็นระบบที่มีขอบเขตการใช้งานกว้างกว่า   ไกลกว่าระบบแลน  ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบที่ไร้ขอบเขตแล้ว  เช่น ระบบการสื่อสารข้อมูลผ่านดาวเทียมของสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ แต่การที่จะเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีระยะห่างกันมาก ๆ ให้เป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งหมดนั้นจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายสาธารณะ (Public Networks) ที่ให้บริการการสื่อสาร  โดยเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม  ผ่าน เครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ  (Public Switching Telephone Network ; PSTN) ซึ่งมีทั้งลักษณะต่อโมเด็มแบบที่ต้องมีการติดต่อก่อน (Dial-up) หรือต่อตายตัวแบบสายเช่า (Lease Line)
ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักด้วยกัน คือ
1.            LAN (Local Area Network) เครือข่ายประเภทนี้เป็นการเชื่อต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ กัน เช่นอยู่ภายในบริษัท เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะใช้สื่อเป็นสายสัญญาณความเร็วสูง
2.            WAN (Wide Area Network) เครือข่ายประเภทนี้เป็นการเชื่อต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างกันออกไป เช่นเชื่อมต่อระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ เป็นต้น สำหรับสื่อก็มักจะเป็นไมโครเวฟ ดาวเทียม หรือสายใยแก้วนำแสงเป็นต้น อินเตอร์เน็ตก็จดว่าเป็นเครือข่ายประเภทนี้
    LAN ประเภทต่างๆ
   นอกจากจะแบ่งเครือข่ายตามระยะทางการเชื่อมต่อแล้ว เครือข่าย LAN ยังมีการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Peer-to-peer และ Client/Server
    สำหรับ Windows 98 นั้นสนับสนุนการทำงานกับ LAN ทั้งสองรูปแบบ แต่สำหรับ Client/Server นั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะรัน Windows NT หรือ NetWare ส่วนเครื่องที่รัน Windows 98 จะเป็นเครื่องไคลเอนต์
เครือข่ายแบบ Peer-to-Peer และ Client/Server
เครือข่ายแบบ Client/Server  
เครือข่ายแบบนี้จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์ (Server) ทำหน้าที่ให้บริการ ส่วนเครื่องของผู้ใช้เรียกว่า ไคลเอนต์ (Client) ไฟล์สำหรับจะเก็บอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งมีระบบรักษาความปลอดภัยเป็นอย่างดี 
เครื่องพิมพ์สำหรับเครือข่าย (Network Printer)
มีความเร็วในการพิมพ์สูง เนื่องจากต้องรองรับการเยกใช้ของผู้ใช้ทั้งหมดในเครือข่ายเครื่องพิมพ์ประเภทนี้จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายโดยตรง
    รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย ( Topologies )
รู           ปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายหรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า โทโพโลยี เป็นลักษณะทั่วไปที่กล่าวถึงการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทางกายภาพว่ามีรูปแบบหน้าตาอย่างไร เพื่อให้สามารถสื่อสารร่วมกันได้และด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่นจะมีรูปแบบของโทโพโลยีหลายแบบด้วยกัน ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจแต่ละโทโพโลยีว่ามีความคล้ายคลึง หรือแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละโทโพโลยี และโดยปกติโทโพโลยีที่นิยมใช้กันบนเครือข่ายท้องถิ่นจะมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ
·         โทโพโลยีแบบบัส
·         โทโพโลยีแบบดาว
·         โทโพโลยีแบบวงแหวน
โทโพโลยีแบบบัส
เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายที่ใช้ช่องทางการสื่อสารร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อบนบัส หรือสายเคเบิลที่ทำหน้าที่เหมือนกับกระดูกสันหลัง
1. แบบบัส ( BUS Topology ) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่เรียกว่า BUS ทีปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Teminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย

ข้อดี ของการเชื่อแบบบัส คือ
·         สามารถติดตั้งได้ง่าย เนื่องจากเป็นโครงสร้างเครือข่ายที่ไม่ซับซ้อน
·         การเดินสายเพื่อต่อใช้งาน สามารถทำได้ง่าย
·         ประหยัดค่าใช้จ่าย กล่าวคือ ใช้สายส่งข้อมูลน้อยกว่า เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับสายหลักได้ทันที
·         ง่ายต่อการเพิ่มสถานีใหม่เข้าไปในระบบ โดยสถานีนี้สามารถใช้สายส่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้
ข้อเสียของการเชื่อแบบบัส คือ
1. ถ้ามีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดไปจากสถานีใดสถานีหนึ่ง ก็จะทำให้ระบบเครือข่ายนี้หยุดการทำงานลงทันที
2. ถ้าระบบเกิดข้อผิดพลาดจะหาข้อผิดพกลาดได้ยาก โดยเฉพาะถ้าเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่
2. แบบดาว ( Star topology ) เป็นการเชื่อมต่อสถานีหรือจุดต่าง ๆ ออกจากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่เรียกว่า File Server แต่ละสถานีจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อกับศูนย์กลาง ไม่มีการใช้สายสัญญาณร่วมกัน เมื่อสถานีใดเกิดความเสียหายจะไม่มีผลกระทบกับสถานีอื่น ๆ ปัจจุบันนิยมใช้อุปกรณ์ HUB เป็นตัวเชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง
ข้อดีของการเชื่อมแบบดาว คือ ง่ายต่อการใช้บริการ เพราะมีศูนย์กลางอยู่ที่คอมพิวเตอร์แม่ข่ายอยู่เครื่องเดียวและเมื่อเกิดความเสียหายที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นก็จะไม่มีผลกระทบอันใดเพราะใช้สายคนละเส้น
ข้อเสียของการเชื่อมแบบดาว คือ ต้องใช้สายสัญญาณจำนวนมาก เพราะแต่ละสถานีมีสายสัญญาณของตนเองเชื่อมต่อกับศูนย์กลางจึงเหมาะสมกับเครือข่ายระยะใกล้มาก กว่าการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล การขยายระบบก็ยุ่งยากเพราะต้องเชื่อมต่อสายจากศูนย์กลางออกมา ถ้าศูนย์กลางเสียหายระบบจะใช้การไม่ได้
     แบบวงแหวน ( Ring Topology ) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นรูปวงแหวนหรือแบบวนรอบ โดยสถานีแรกเชื่อมต่อกับสถาน สุดท้าย การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายจะต้องผ่านทุกสถานี โดยมีตัวนำสารวิ่งไปบนสายสัญญาณของแต่ละสถานี ต้องคอยตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมา ถ้าไม่ใช่ของตนเองต้องส่งผ่านไปยังสถานีอื่นต่อไป
ข้อดีของการเชื่อมแบบวงแหวน คือ ใช้สายสัญญาณน้อยกว่าแบบดาว เหมาะกับการเชื่อมต่อด้วยสายสัญญาณใยแก้วนำแสง เพราะส่งข้อมูลทางเดียวกันด้วยความเร็วสูง
ข้อเสียของการเชื่อมแบบวงแหวน คือ ถ้าสถานีใดเสียระบบก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้จนกว่าจะแก้ไขจุดเสียนั้น และยากในการตรวจสอบว่ามีปัญหาที่จุดใดและถ้าต้องการเพิ่มสถานีเข้าไปจะพกหระทำได้ยากด้วย
4. แบบเมช (mesh topology) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายจะมีช่องสัญญาณจำนวนมาก เพื่อเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง
ส่วนการส่งข้อมูล
- สามารถทำได้อย่างอิสระ ไม่ต้องรอให้เครื่องอื่นทำงานให้เสร็จก่อน
ข้อดีของการเชื่อมแบบเมช คือ ทำงานได้เร็ว
ข้อเสียของการเชื่อมแบบเมช คือ ค่าใช้จ่ายสูงสำหรับสายเคเบิ้ล
 5. แบบผสม คือ เป็นการผสมความสามารถของเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลาย ๆ แบบโดยพิจารณาตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด


ส่วนประกอบของเครือข่าย ( Network Component )
ส่วนประกอบของเครือข่าย ที่นี้กล่าวถึงส่วนประกอบพื้นฐานของเครือข่ายท้องถิ่นเป้นสำคัยซึ่งเครือข่ายจำเป็นต้องมีส่วนประกอบหลายส่วนด้วยกัน เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ บนเครือข่ายสามารถสื่อสาร เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ โดยส่วนประกอบพื้นฐานของเครือข่ายท้องถิ่น ประกอบด้วย
·         เครื่องศูนย์บริการข้อมูล
·         เครื่องลูกข่ายหรือสถานี
·         การ์ดเครือข่าย
·         สายเคเบิลที่ใช้บนเครือข่าย
·         ฮับหรือสวิตช์
·         ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
เครื่องศูนย์บริการข้อมูล
โดยมักเรียกว่า เครื่องเซิร์ฟเวอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่บริการทรัพยากรให้กับเครื่องลูกข่าย เช่น การบิการไฟล์ การบริการงานพิมพ์ เป็นต้น เครื่องเซิร์ฟเวอร์อาจเป็นคอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ หรือไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้ โดยคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมา เพื่อใช้งานเป็นเซิร์ฟเวอร์ นี้มักมีสมรรถนะสูง รวมถึงถูกออกแบบมาเพื่อรองรับความทนทานต่อความผิดพาด เนื่องจากต้องทำงานหนัก หรือต้องรองรับงานตลอด 24 ชั่งโมง ดังนั้น เครื่องเซิร์ฟเวอร์จึงมีราคาที่สูงมากเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่ว ๆ ไป
เครื่องลูกข่ายหรือสถานีเครือข่าย
เครื่องลูกข่ายเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย ซึ่งอาจเรียกว่าเวิร์กสเตชันก็ได้ โดยมักเป็นเครื่องของผู้ใช้งานทั่วไปสำหรับติดต่อเพื่อขอใช้บริการจากเซิร์ฟเวอร์ เครื่องลูกข่ายอาจเป็นคอมพิวเตอร์ที่ไม่จำเป็นต้องมีสมรรถนะสูง ซึ่งอาจเป็นเครื่องเดสก์ทอปคอมพิวเตอร์ทั่วไปก็ได้
การ์ดเครือข่าย
ที่ใช้งานบนเครือข่ายแลนแบบอีเทอร์เน็ต มักเรียกว่า อีเทอร์เน็ตการ์ด ซึ่งการ์ดดังกล่าวมีหายชนิดด้วยกันให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นอัตราการเร็วที่กำหนดไว้เพื่อรองรับการใช้งานที่แตกต่างกัน ส่วนคอนเน็กเตอร์ทีใช้สำหรับเชื่อมต่อก็มีคอนเน็กเตอร์แบบต่าง ๆ ให้เลือกใช้งาน ซึ่งคอนเน็กเตอร์แบบ RJ45 จะถือเป็นคอนเน็กเตอร์มาตรฐานสำหรับเครือข่ายอีเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ยกเว้นการ์ดเครือข่ายรุ่นเก่า ๆ ที่ยังคงมีใช้งานอยู่บ้าง เช่น คอนเน็กเตอร์แบบ BNC หรือ AUI เป็นต้น
สายเคเบิลที่ใช้บนเครือข่าย
เครือข่ายคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีสายเคเบิลเพื่อใช้สำหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ให้อยู่บนเครือข่ายเดียวกันเพื่อสื่อสารกันได้ การเลือกชนิดของสายเคเบิลจำเป็นต้องพิจารณาควบคู่กับรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย เช่น หากเชื่อมต่อในรูปแบบดาว สายเคเบิลหลัก ๆ ที่ใช้งานก็คือสาย UTP เป็นต้น โดยชนิดและคุณสมบัติขิงสายเคเบิลชนิดต่าง ๆ ได้กล่าวรายละเอียดไว้แล้วในบทที่ 4 นอกจากนี้เครือข่ายยังสามารถสื่อสารระหว่างกันโดยไม่ใช้สายก็ได้ ซึ่งเรียกว่า เครือข่ายไร้สาย โดยสามารถใช้คลื่นวิทยุ หรืออินฟราเรดเป็นตัวกลางในการนำพาสัญญาณอีกทั้งยังสามารถนำเครือข่ายแบบมีสายและเครือข่ายแบบไร้สายมาเชื่อมต่อเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกันได้
ฮับและสวิตช์

เป็นอุปกรณ์ฮับและสวิตช์มักนำไปใช้เป็นศูนย์กลางของสายเคเบิลที่เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งฮับหรือสวิตช์จะมีพอร์ตเพื่อให้สายเคเบิลเชื่อมต่อเข้าระหว่างฮับกับคอมพิวเตอร์ โดยจำนวนพอร์ตจะขึ้นอยู่กับแต่ละชนิด เช่น แบบ 4 , 8, 16 , 24 พอร์ต ยังสามารถนำฮับหรือสวิตช์หลายๆตัว มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเพื่อขยายเครือข่ายได้อีกด้วย
ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
สิ่งที่สำคัญสิ่งหนึ่งของเครือข่ายก็คือ โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพด้วย โปรแกรมระบบปฏิบัติการเครือข่ายก็จะมีทั้งรูปแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ และแบบเพียร์ทูเพียร์ให้เลือกใช้งานตามลักษณะของเครือข่ายที่ใช้งานหรืออกแบบไว้ ซึ่งปกติระบบปฏิบัติการ Windows ตระกูล 9x หรือรุ่นที่สูงกว่า นอกจากจะใช้เป็นระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งเพื่อเครือข่ายเพียร์ทูเพียร์ก้ได้ โดยจำเป็นต้องมีการ์ดเครือ ข่าย และเลือกใช้โปรโตคอลเพื่อทำการสื่อสารร่วมกันบนเครือข่าย
บริดจ์ ( Bridge )
เป็นอุปกรที่ทำงานอยู่บนสองลำดับล่างบนแบบจำลอง OSI คือ ลำดับฟิสิคัส ลำดับชั้นดาต้าลิงก์ ซึ่งทำหน้าที่เสมือนสะพานเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลเดียวกัน เช่น ระหว่างอีเทอร์เน็ตแลนด้วยกันหรือต่างโปรโตคอลก็ได้ เช่น ระหว่างอีเทอร์เน็ตกับโทเค็นริง
ความสามารถในการทำงานของบริดจ์จะเหนือกว่าการทำงานของรีพีตเตอร์ กล่าวคือ บริดจ์สามารถแบ่งเครือข่ายขนาดใหญ่ออกเป็นเครือข่ายย่อยหรือเป็นเซกเมนต์ย่อยได้ ซึ่งไม่เหมือนกับรีพีตเตอร์ตรงที่เซกเมนต์ย่อยต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อด้วยบริดจ์นั้นจะถือว่าเป็นวงแลนคนละวงกัน ไม่ได้อยู่บน Collision Domain เดียวกัน ดังนั้นจึงทำให้สามารถลดความคับคั่งของข้อมูลบนเครือข่ายได้ เนื่องจากมีการกลั่นกรองข้อมูล ซึ่งแตกต่างกับฮับที่แพร่ข่าวสารข้อมูลออกไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เชื่อมต่อ
สวิตช์ ( Switch )
อุปกรณ์สวิตช์จะมีลักษณะการทำงานเช่นเดียวกับบริดจ์ แต่สวิตช์จะมีความแตกต่างกับบริดจ์ตรงที่สวิตช์นั้นจะมีพอร์ตหลายพอร์ตด้วยกัน ในขระที่บริดจ์นั้นจะมีเพียงสองพอร์ตเท่านั้น ปัจจุบันสวิตช์ที่ทำงานเช่นเดียวกับบริดจ์จะเรียกว่า สวิตช์เลเยอร์ 2 สวนสวิตช์ที่ทำงานเทียบชั้นกับเร้าเตอร์จะเรียกว่า สวิตช์เลเยอร์ 3 หากมีการมองอย่างผิวเผินแล้ว สวิตช์จะมีความคล้ายคลึงกับฮับมาก แต่สวิตช์มีหลักการที่เหนือกว่าเมื่อเทียบบนแบบจำลอง OSI รวมถึงมีราคราที่สูงกว่าฮับ
 เร้าเตอร์ ( Router )
อุปกรณ์อย่างรีพีตเตอร์และบริดจ์ จัดเป็นอุปกรณ์พื้นฐานอย่างง่ายที่ใช้บนเครือข่ายท้องถิ่น แต่สำหรับอุปกรณ์อย่างเร้าเตอร์จะเป็นยิ่งกว่านั้น โดยเร้าเตอร์จะทำงานอยู่ในสามำดับล่างบนแบบจำลอง OSI คือ ลำดับ ชั้นฟิสิคัส , ลำดับชั้นดาต้าลิงก์ , ดับชั้นเน็ตเวิร์ก
เร้าเตอร์ถือเป็นสิ่งที่จำเป้นทีเดียวสำหรับกรณีที่ต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายหาย ๆ กุ่มเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายระหว่างแลนด้วยกัน หรือเครือข่ายระหว่างแลนกับแวน โดยฟังก์ชันการทำงานที่สำคัญของเร้าเตอร์ก็คือ การเลือกเส้นทางเพื่อส่งแพ็กเก็ตข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมถึงความสามารถในการเปลี่ยนเส้นทางเดดินของข้อมูลในกรณีที่เส้นทางเดิมที่ใช้งานอยู่เกิดข้อขัดข้อง
เครือข่ายต่างๆ ที่เชื่อมต่อด้วยเร้าเตอร์อาจมีโปรโตคอลที่ใช้งานแตกต่างกันได้ และด้วยความสามารถของเร้าเตอร์ที่สามารถจัดการและค้นหา เพื่อเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งแพ็กเก็ตข้อมูลไปยังกลุ่มเครือข่ายต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อ ซึ่งในการเชื่อมต่อกลุ่มเครือข่ายจำนวนมากเข้าด้วยกันอย่างเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะมีความสลับซับซ้อนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแพร่ของแพ็กเก็ตจำนวนมากมาย ที่วิ่งไปมาอย่างสับสนวุ่นวาย แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับเร้าเตอร์เลย ในทางรงกันข้าม เร้าเตอร์กลับสามารถจัดการกับสิ่งเห่านั้นได้อย่างน่าทึ่ง ดังนั้น อุปกรณ์เร้าเตอร์จึงจัดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อระหว่างกันหลาย ๆ เครือ ข่าย โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
กลุ่มข้อมูลบนลำดับชั้นเน็ตเวิร์กจะถุกแบ่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ ที่เรียกว่า แพ้กเก็ต โดยเร้าเตอร์จะมีการตัดสินใจว่าจะเคลื่อนย้ายแพ็กเก็ตข้อมูลเหล่านั้นจากต้นทางไปยังปลายทางได้อย่างไร ซึ่งระหว่างการเดินทางตามเส้นทางเหล่านั้น จะประกอบไปด้วยกลุ่ม เครือข่ายย่อยต่าง ๆ และรวมถึงกลุ่มเครือข่ายที่ต่างชนิดกันมากมายที่อาจอยู่คนละซีกโลก แต่ด้วยความชาญฉลาดของเร้าเตอร์ จะสามารถส่งแพ็กเก็ตข้อมูลเหล่านั้นไปยังปลายทางด้วยการผ่านเส้นทางต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้อย่างเหมาะสมที่สุด
เกตเวย์ ( Gateway )
อุปกรณ์อย่างเกตเวย์สามารถปฏิบัติงานได้ทุกำดับชั้นบนแบบจำลอง OSI โดยเกตเวย์อนุญาตให้คอมพิวเตอร์บนเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันที่ใช้โปรโตคอลต่างกัน รวมถึงสถาปัตยกรรมของคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เช่น พีซีคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ให้สามารถเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารกันได้ กล่าวคือ เกตเวย์จะสามารถทำให้เครือข่ายต่างมาตรฐานกัน ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้สามารถเชื่อมโยงสื่อสารกันได้
รูปแบบการเชื่อมต่อและส่วนประกอบของเครือข่าย
การสื่อสารแบบจุดต่อจุด ( Direct Point – to – point Communication )
ระบบการสื่อสารในยุคแรก ๆ มักมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สองเครื่องเข้าไว้ด้วยกันแบบโดยตรง หรือเรียกว่าการเชื่อมแบบจุดต่อจุด ซึ่งการเชื่อมด้วยวิธีนี้จะมีคุณสมบัติ 3 ประการ ที่สำคัญ ดังนี้
1. เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อกันแบบโดยตรงระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่อง แบนด์วิดธ์บนสายสื่อสารที่ใช้งานระหว่างกันจะสามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ โดยไม่มีโหนดอื่น ๆ เข้ามาแชร์การใช้งาน
2. มีความยืดหยุ่นในส่วนของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สื่อสารกัน รวมถึงรูปแบบของแพ็กเก็ตข้อมูล
3. มีความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวในข้อมูลที่สื่อสารกัน เนื่องจากช่องทางการสื่อสารที่ใช้สื่อสารกันไม่มีการแชร์เพื่อใช้งานร่วมกับโหนดอื่น ๆ
ข้อเสียที่เห็นได้ชัดของการเชื่อมแบบจุดต่อจุดคือ จะส่งผกระทบต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เมื่อมีอัตราการเพิ่มจำวนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย โดยหากมีการเพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์เพิ่มอีกหนึ่งเครื่องบน Location 1 จะต้องเพิ่มสายจากเดิมที่มีอยู่ 10 เส้น เป็น 15 เส้น นั่นหมายถึง หากมีการเพิ่มจำนวน N เครื่องเข้าไป จำนวนสายที่ต้องโยงก็จะเพิ่มขึ้นใหม่เป็น N – 1 นั่นเอง
การใช้ช่องทางการสื่อสารร่วมกัน
ประวัติของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงปี ค.ศ. 1960-1970 เมื่อนักวิจัยได้มีการพัฒนารูปแบบการสื่อสารคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า เครือข่ายท้องถิ่น หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า เครือข่ายแลน
เครือข่ายท้องถิ่น จะมีรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างจากการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบจุดต่อจุด กล่าวคือ เครือข่ายท้องถิ่นจะใช่รูปแบบการเชื่อมต่อแบบหลายจุดด้วยการใช้ช่องทางการสื่อสารร่วมกัน โดยสารสื่อสารดงกล่าว จะใช้เป็นเส้นทางการสื่อสารร่วมกันบนเครือข่าย ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์บนเครือทั้งหลาย ก็จะใช้สายเคเบิลที่เป็นสายสื่อสารหลักนี้ในการส่งแพ็กเก็ตข้อมูลร่วมกัน
รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่าย หรือ โทโปโลยี ( LAN Topology )
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย ( Topologies )
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายหรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า โทโพโลยี เป็นลักษณะทั่วไปที่กล่าวถึงการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทางกายภาพว่ามีรูปแบบหน้าตาอย่างไร เพื่อให้สามารถสื่อสารร่วมกันได้และด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่นจะมีรูปแบบของโทโพโลยีหลายแบบด้วยกัน ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจแต่ละโทโพโลยีว่ามีความคล้ายคลึง หรือแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละโทโพโลยี และโดยปกติโทโพโลยีที่นิยมใช้กันบนเครือข่ายท้องถิ่นจะมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ
·         โทโพโลยีแบบบัส
·         โทโพโลยีแบบดาว
·         โทโพโลยีแบบวงแหวน
•  โทโปโลยีแบบบัส การเชื่อมต่อรูปแบบนี้นะครับก็คือ คอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกัน โดยผ่านสายสัญญาณแกนหลัก หรือที่เรียกว่า บัส ( BUS ) นี่เองครับ คือสายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลักใช้เป็นทางเดินของข้อมูลของทุกเครื่องภายในเครือข่ายและ จะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุดด้วยครับ เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่องอื่นๆ ด้วยครับ ซึ่งเราเรียกว่า โหนด ( Node) นี่เองครับซึ่งข้อมูลจากโหนดผู้ส่งนี้นะครับจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจนะครับ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจนี้นะครับก็จะประกอบด้วยข้อมูลของผู้ส่ง,ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่งครับ การสื่อสารภายในบัสนี้นะครับจะเป็นแบบ 2 ทิศทางครับ โดยแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส ครับโดยปลายทั้ง 2 ด้านนี้นะครับจะมี โทมิเนตอร์ ( Teerminator) ซึ่งจะทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งถึงเพื่อไม่ให้สัญญาณนั้นสะท้อนกลับครับ เพื่อเป็นการป้องกันข้อมูลอื่นๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสด้วยครับ และขณะนั้นนะครับสัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัสแล้วนะครับ ข้อมูลก็จะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัสครับ แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัสนี้นะครับก็จะตรวจดูว่าตำแหน่งปลายทาง ที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรงก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนดของตนครับ แต่ถ้าหากว่าไม่ใช่นะครับก็จะปล่อยให้สัญญาณนั้นผ่านไปครับ
ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวงสายสัญญาณมากนัก เพราะว่าขยายระบบได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนครับ
ข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบบัส อาจเกิดความผิดพลาดได้ง่าย เพราะว่าจะใช้สายสัญญาณเพียงสายเดียวในการต่อ และถ้าหากสายขาดที่ใดที่หนึ่งก็จะทำให้บางเครื่องหรือทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้เลย
•  โทโปโลยีแบบวงแหวน การเชื่อมต่อแบบนี้นะครับเป็นรูปแบบที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้นะครับ จะถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลมและข้อมูลก็จะไหลเวียนไปในทิศทางเดียวกันครับ ในแต่ละเครื่องนี้นะครับก็จะมี รีพิตเตอร์ ( Repeater) ประจำอยู่เครื่องล่ะ 1 ตัว ครับ เพื่อจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นในการติดต่อสื่อสารเข้ามาที่ส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และก็ทำการตรวจสอบว่าส่วนหัวของแพ็กเกจที่มาถึงนั้นเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปครับ
ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบวงแหวน การส่งข้อมูลนั้นนะครับจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันครับ จะไม่มีการชนการของข้อมูลและคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องก็สามารถส่งข้อมูลได้เท่าเทียมกันด้วยครับ
ข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบวงแหวน ถ้าหากว่ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียหาก การส่งผ่านข้อมูลนั้นนะครับก็จะไม่สามารถทำได้เลย
แสดงโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน
•  โทโปโลยีแบบดาว การเชื่อมต่อแบบนี้นะครับจะเป็นการที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องเชื่อมต่อกันโดยผ่านอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่เป็น ตัวกลางของการเชื่อมต่อตัวเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า ฮับ ( HUB ) หรือเครื่องๆ หนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์ในการเชื่อมต่อภายในเครือข่ายนะครับ และก็ทำการควบคุมเส้นการสื่อสารทั้งหมดด้วยครับ เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่นๆ ก็จะทำหน้าที่ส่งข้อมูลนั้นไปยังศูนย์กลางก่อนนะครับ และค่อยทำการกระจายข้อมูลนั้นต่อไปครับ
ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบดาว การติดตั้งและดูแลรักษานี้นะครับจะทำได้ง่ายครับ และมีเครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียหายก็สามารถตรวจสอบได้ง่ายครับ แล้วศูนย์กลางก็ยังสามารถตัดเครื่องที่เสียหายออกจากเครือข่าย ได้โดยที่ไม่มีผลกระทบต่อเครือข่ายอีกด้วยครับ
ข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบดาว ใช้ค่าใช้จ่ายสูง และการขยายระบบทำได้ยาก เพราะจะเกี่ยวเนื่องกับทุกเครื่องบนเครือข่าย
•  โทโปโลยีแบบ Hybrid การเชื่อมต่อในรูปแบบนี้นะครับเป็นรูปแบบใหม่ของ การเชื่อมต่อนะครับเพราะเกิดจากการผสมผสาน ระหว่างการเชื่อมต่อ แบบบัส แบบวงแหวง และแบบดาว และเพิ่มข้อดีของการเชื่อมต่อขึ้นมานะครับ ซึ่งการเชื่อมต่อแบบส่วนมากใช้ในการเชื่อมต่อแบบ WAN 
•  โทโปโลยีแบบ MESH การเชื่อมต่อในรูปแบบนี้นะครับเป็นการเชื่อมต่อ ที่สามารถป้องกันความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุดครับ ในการเชื่อมต่อนั้นนะครับคือทุกเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายจะต้องมีสายเชื่อมต่อเข้าหากันกับทุกๆ เครื่องจึงทำให้ยุ่งยากในการเดินสายจึงไม่ค่อยนิยมใช้กันครับ
การเชื่อมต่อเครือข่าย
     การนำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องมาทำการเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายนั้น จะต้องมีการศึกษาถึงรูปแบบ โครงสร้าง และการจัดวางอุปกรณ
์ต่างๆในระบบเครือข่าย เพื่อทำให้การใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นเกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการใช้งานสูงสุด
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย (Line Configuration)
     หมายถึง การสร้างเส้นทางการสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่ง แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบจุดต่อจุด (peer- to-peer)
     เป็นการเชื่อมต่อแบบพื้นฐาน โดยต่อจากอุปกรณ์รับหรือส่ง 2 ชุด ใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวมีความยาวของสายไม่จำกัด เชื่อมต่อสายสื่อสาร
ไว้ตลอดเวลา (Lease Line) ซึ่งสายส่งอาจจะเป็นชนิดสายส่งทางเดียว (Simplex) สายส่งกึ่งทางคู่ (Half-duplex) หรือสายส่งทางคู่แบบสมบูรณ์
(Full-duplex) ก็ได้ และสามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ทั้งแบบซิงโครนัสหรือแบบอซิงโครนัส การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดมีได้หลายลักษณะ
ซึ่งการเชื่อมด้วยวิธีนี้จะมีคุณสมบัติ 3 ประการ ที่สำคัญ ดังนี้
1. เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อกันแบบโดยตรงระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่อง แบนด์วิดธ์บนสายสื่อสารที่ใช้งานระหว่างกันจะสามารถใช้งานได้
อย่างเต็มที่ โดยไม่มีโหนดอื่น ๆ เข้ามาแชร์การใช้งาน
2. มีความยืดหยุ่นในส่วนของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สื่อสารกัน รวมถึงรูปแบบของแพ็กเก็ตข้อมูล
3. มีความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวในข้อมูลที่สื่อสารกัน เนื่องจากช่องทางการสื่อสารที่ใช้สื่อสารกันไม่มีการแชร์เพื่อใช้งานร่วมกับโหนดอื่น ๆ
ข้อเสียที่เห็นได้ชัดของการเชื่อมแบบจุดต่อจุดคือ จะส่งผกระทบต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เมื่อมีอัตราการเพิ่มจำวนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย โดยหากมีการเพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์เพิ่มอีกหนึ่งเครื่องบน Location 1 จะต้องเพิ่มสายจากเดิมที่มีอยู่ 10 เส้น เป็น 15 เส้น นั่นหมายถึง หากมีการเพิ่มจำนวน N เครื่องเข้าไป จำนวนสายที่ต้องโยงก็จะเพิ่มขึ้นใหม่เป็น N – 1 นั่นเอง
2. การเชื่อมต่อแบบหลายจุด (Multi Point)
     เนื่องจากค่าเช่าช่องทางในการส่งผ่านข้อมูลต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดนั้นสิ้นเปลืองสายสื่อสารมาก การส่งข้อมูลไม่ได้ใช้งาน
ตลอดเวลา จึงมีแนวความคิดที่จะใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวแต่เชื่อมต่อกับหลายๆ จุดซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ลักษณะการเชื่อมต่อ
แบบหลายจุดแสดงให้เห็นได้
     การเชื่อมต่อแบบหลายจุดแต่จุดจะมีบัฟเฟอร์ (Buffer) ซึ่งเป็นที่พักเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนทำการส่ง โดยบัฟเฟอร์จะรับข้อมูลมาเก็บเรื่อย ๆ จนเต็มบัฟเฟอร์ ข้อมูลจะถูกส่งทันทีหรือเมื่อมีคำสั่งให้ส่ง เพื่อใช้สายสื่อสารให้เต็มประสิทธิภาพในการส่งแต่ละครั้ง และช่วงใดที่ว่างก็สามารถให้ผู้อื่น
ส่งได้ การเชื่อมต่อแบบนี้จะเหมาะกับการสื่อสารที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก และเป็นข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการสื่อสารข้อมูล
โดยวิธีการเชื่อมต่อแบบหลายจุดจะประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้ระบบสื่อสารได้ค่อนข้างเต็มประสิทธิภาพ แต่ก็มีข้อจำกัดหลายประการดังต่อไปนี้
  • ประสิทธิภาพของเครื่องและซอฟต์แวร์ที่ใช้สื่อสารข้อมูล
  • ปริมาณการส่งผ่านข้อมูลที่เกิดขึ้นจากสถานีส่งและรับข้อมูล
  • ความเร็วของช่องทางการส่งผ่านข้อมูลที่ใช้
  • ข้อจำกัดที่ออกโดยองค์การที่ควบคุมการสื่อสารของแต่ละประเทศ
การเชื่อมต่อเครือข่าย
     การนำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องมาทำการเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายนั้น จะต้องมีการศึกษาถึงรูปแบบ โครงสร้าง และการจัดวางอุปกรณ
์ต่างๆในระบบเครือข่าย เพื่อทำให้การใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นเกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการใช้งานสูงสุด
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย (Line Configuration)
     หมายถึง การสร้างเส้นทางการสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่ง แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบจุดต่อจุด (peer- to-peer)
     เป็นการเชื่อมต่อแบบพื้นฐาน โดยต่อจากอุปกรณ์รับหรือส่ง 2 ชุด ใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวมีความยาวของสายไม่จำกัด เชื่อมต่อสายสื่อสาร
ไว้ตลอดเวลา (Lease Line) ซึ่งสายส่งอาจจะเป็นชนิดสายส่งทางเดียว (Simplex) สายส่งกึ่งทางคู่ (Half-duplex) หรือสายส่งทางคู่แบบสมบูรณ์
(Full-duplex) ก็ได้ และสามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ทั้งแบบซิงโครนัสหรือแบบอซิงโครนัส การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดมีได้หลายลักษณะ
ซึ่งการเชื่อมด้วยวิธีนี้จะมีคุณสมบัติ 3 ประการ ที่สำคัญ ดังนี้
1. เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อกันแบบโดยตรงระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่อง แบนด์วิดธ์บนสายสื่อสารที่ใช้งานระหว่างกันจะสามารถใช้งานได้
อย่างเต็มที่ โดยไม่มีโหนดอื่น ๆ เข้ามาแชร์การใช้งาน
2. มีความยืดหยุ่นในส่วนของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สื่อสารกัน รวมถึงรูปแบบของแพ็กเก็ตข้อมูล
3. มีความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวในข้อมูลที่สื่อสารกัน เนื่องจากช่องทางการสื่อสารที่ใช้สื่อสารกันไม่มีการแชร์เพื่อใช้งานร่วมกับโหนดอื่น ๆ
ข้อเสียที่เห็นได้ชัดของการเชื่อมแบบจุดต่อจุดคือ จะส่งผกระทบต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เมื่อมีอัตราการเพิ่มจำวนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย โดยหากมีการเพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์เพิ่มอีกหนึ่งเครื่องบน Location 1 จะต้องเพิ่มสายจากเดิมที่มีอยู่ 10 เส้น เป็น 15 เส้น นั่นหมายถึง หากมีการเพิ่มจำนวน N เครื่องเข้าไป จำนวนสายที่ต้องโยงก็จะเพิ่มขึ้นใหม่เป็น N – 1 นั่นเอง

2. การเชื่อมต่อแบบหลายจุด (Multi Point)
     เนื่องจากค่าเช่าช่องทางในการส่งผ่านข้อมูลต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดนั้นสิ้นเปลืองสายสื่อสารมาก การส่งข้อมูลไม่ได้ใช้งาน
ตลอดเวลา จึงมีแนวความคิดที่จะใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวแต่เชื่อมต่อกับหลายๆ จุดซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ลักษณะการเชื่อมต่อ
แบบหลายจุดแสดงให้เห็นได้
     การเชื่อมต่อแบบหลายจุดแต่จุดจะมีบัฟเฟอร์ (Buffer) ซึ่งเป็นที่พักเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนทำการส่ง โดยบัฟเฟอร์จะรับข้อมูลมาเก็บเรื่อย ๆ จนเต็มบัฟเฟอร์ ข้อมูลจะถูกส่งทันทีหรือเมื่อมีคำสั่งให้ส่ง เพื่อใช้สายสื่อสารให้เต็มประสิทธิภาพในการส่งแต่ละครั้ง และช่วงใดที่ว่างก็สามารถให้ผู้อื่น
ส่งได้ การเชื่อมต่อแบบนี้จะเหมาะกับการสื่อสารที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก และเป็นข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการสื่อสารข้อมูล
โดยวิธีการเชื่อมต่อแบบหลายจุดจะประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้ระบบสื่อสารได้ค่อนข้างเต็มประสิทธิภาพ แต่ก็มีข้อจำกัดหลายประการดังต่อไปนี้
  • ประสิทธิภาพของเครื่องและซอฟต์แวร์ที่ใช้สื่อสารข้อมูล
  • ปริมาณการส่งผ่านข้อมูลที่เกิดขึ้นจากสถานีส่งและรับข้อมูล
  • ความเร็วของช่องทางการส่งผ่านข้อมูลที่ใช้
  • ข้อจำกัดที่ออกโดยองค์การที่ควบคุมการสื่อสารของแต่ละประเทศ
โครงสร้างการเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Topology)
     หมายถึง ลักษณะหรือรูปทรงในการเชื่อมต่ออุปกรณ์การสื่อสารต่าง ๆ ในเครือข่าย แบ่งออกเป็นลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

1) แบบดาว (Star Network)
ลักษณะการเชื่อมต่อของโครงสร้างแบบสตาร์จะคล้าย ๆ กับดาวกระจายคือมีอุปกรณ์ประเภท Hub หรือ Switch เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อเป็นเครือข่าย
ที่คอมพิวเตอร์ทุกตัวและอุปกรณ์อื่นเชื่อมกับโฮสต์คอมพิวเตอร์ที่อยู่ และการสื่อสารทั้งหมดระหว่างอุปกรณ์ต่างๆภายในเครือข่ายต้องผ่านโฮสต์คอมพิวเตอร์
เนื่องจากโฮสต์คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมอุปกรณ์อื่นทั้งหมดในเครือข่าย เครือข่ายแบบดาวเหมาะสำหรับการประมวลผลที่มีลักษณะรวมศูนย์
เวลาที่มีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดหรือเสียก็จะไม่มีผลต่อการทำงานของระบบโดยรวมแต่อย่างใดอย่างไรก็ตามข้อจำกัดของแบบนี้ คือ หากใช้โฮสต์คอมพิวเตอร์ก็จะทำให้ระบบทั้งหมดทำงานไม่ได้
นอกจากนี้หากต้องการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่ายก็สามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องหยุดการทำงานของเครือข่ายก่อน การต่อแบบสตาร์นี้เป็นแบบที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากราคาอุปกรณ์ที่มาใช้เป็นศูนย์กลางอย่าง Hub หรือ Switch ลดลงมากในขณะที่ประสิทธิภาพหรือความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบันได้ความเร็วถึงระดับของกิกาบิต ( 1,000 Mbps) แล้ว    
2) แบบบัส (Bus Network)
เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์โดยใช้สายวงจรเดียว ซึ่งอาจจะเป็นสายเกลียวคู่สายโคแอกเชียล หรือ สายใยแก้วก็ได้ สัญญาณสามารถสื่อสารได้ 2 ทางใน
เครือข่ายโดยมีซอฟต์แวร์คอยช่วยแยกว่าอุปกรณ์ใดจะเป็นตัวรับข้อมูล หากมีคอมพิวเตอร์ตัวใด
ในระบบล้มเหลวจะไม่มีผล ต่อคอมพิวเตอร์อื่น อย่างไรก็ตามช่องทางในระบบเครือข่ายแบบนี้สามารถจัดการรับข้อมูลได้ครั้งละ 1 ชุดเท่านั้น ดังนั้นจึงเกิดปัญหาการจราจรของข้อมูลได้ในกรณี
ที่มีผู้ต้องการใช้งานพร้อมกัน โทโปโลจีแบบนี้นิยมใช้ในวงแลน
     นอกจากนี้การขยายระบบของเครือข่ายก็สามารถกระทำได้ง่าย เพราะเพียงแต่นำอุปกรณ์ใหม่มาต่อพ่วงกับบัสเท่านั้นก็สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่าย
ได้ทันที และประการสำคัญหากเครื่องลูกข่ายภายในระบบตัวใดตัวหนึ่งเกิดมีปัญหาไม่สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายได้ในขณะนั้น ก็จะไม่ทำให้ทั้ง
ระบบหยุดชะงักหรือขาดการติดต่อสื่อสารลงไปทั้งระบบ สถานีแต่ละสถานีไม่มีปัญหายังคงติดต่อสื่อสารภายในระบบกันได้อย่างไม่มีปัญหา
3) แบบวงแหวน (Ring Network)
โครงสร้างแบบนี้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับสายเคเบิลเส้นเดียวเป็นวงแหวนคอมพิวเตอร์ทุกตัวเชื่อมโยงเป็นวงจรปิดทำให้การส่งข้อมูล
จากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่งโดยเดินทางไปในทิศทางเดียวกันตลอดโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ถัดกันไปเป็นทอด ๆ การส่งข้อมูลจะใช้
้ทิศทางเดียวถ้าแอดเดรสของมันไม่ตรงกับผู้รับตามที่เครื่องต้นระบุมา มันก็จะส่งผ่านไปยังเครื่องถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายคือตรงกับใครเครื่องนั้น
ก็รับไม่ส่งต่อ คอมพิวเตอร์แต่ละตัวทำงานโดยอิสระ หากมีตัวใด ตัวหนึ่งเสียระบบการสื่อสารในเครือข่ายได้รับการกระทบกระเทือน ยกเว้นจะมีวงแหวน
คู่ในการรับส่งข้อมูลในทิศทางต่างๆ กัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในการป้องกันไม่ให้เครือข่ายหยุดทำงานโดยสิ้นเชิง
     โครงสร้างแบบนี้มีข้อเสียคล้าย ๆ กับแบบบัส คือเมื่อสายเคเบิลช่วงใดช่วงหนึ่งขาดจะทำให้ทั้งระบบใช้งานไม่ได้ อย่างไรก็ตามเครือข่ายแบบวงแหวน
มักใช้สายเคเบิลที่มีวงแหวนสำรองที่สามารถส่งข้อมูลในทิศทางกลับกัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในกรณีที่เครือข่ายมีปัญหา ซึ่งราคาแพงพอสมควร นอกจากนี้การเพิ่มเครื่องเข้าไปในเครือข่ายจะต้องปิดการทำงานของระบบก่อนเช่นเดียวกับแบบบัส เครือข่ายแบบนี้ปัจจุบันยังใช้กันอยู่ โดยเฉพาะในเครือข่ายของผลิตภัณฑ์ในตระกูล IBM ซึ่งโดยมากจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์
     นอกจากโทโปโลจีทั้ง 3 แบบที่กล่าวข้างต้น อาจจะพบโทโปโลจีแบบอื่นๆ เช่น แบบโครงสร้างลำดับชั้น (Hierarchical Network) ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างคล้ายต้นไม้ (Tree) หรือมี

     1. Netware เป็นระบบปฏิบัติการที่มีผู้นิยมใช้งานในระบบเครือข่ายมากสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ พัฒนาโดยบริษัท Novell จัดเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ทำงานภายใต้ MS-DOS ระบบปฏิบัติการเครือข่าย Netware ในขณะนี้ สรุปได้ดังนี้
- 1. Personal Netware (Netware Lite)
เป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เชื่อมต่อในลักษณะ Peer-to-Peer โดยคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายนั้น จะติดต่อกันในกลุ่มเครือข่าย โดยไม่มีเครื่องใด
เครื่องหนึ่งเป็นเครื่องเซอร์เวอร์โดยเฉพาะ ไม่เหมาะกับระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เพราะมีการจัดการเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยค่อนข้างน้อย
- 2. Netware 3.1x
เป็นระบบเครือข่ายแบบไคลเอ็นต์เซอร์เวอร์ มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งหรือมากกว่าที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูล โดยเฉพาะ Netware 3.12 นั้นยังเป็นที่นิยมใช้กันมากจนถึงปัจจุบัน สามารถต่อเครือข่ายได้สูงสุด 250 ยูสเซอร์ ต่อ 1 เซอร์เวอร์ ปัจจุบันพัฒนา Netware 3.2 แล้ว
- 3. Netwware 4.xx
เป็นเวอร์ชันที่มีลักษณะคล้ายกับ Netware 3.12 แต่มีรายละเอียดซับซ้อนมากกว่าในเรื่องของการจัดการและการออกแบบโครงสร้าง NDS ในเวอร์ชันนี้สามารถต่อเครือข่ายได้สูงสุด 1000 ยูสเซอร์ และสามารถรองรับซีพียูในการประมวลผลได้มากกว่าหนึ่งตัว
- 4. Netware 5
เป็นเวอร์ชันที่ใช้สำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่ เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สนับสนุนโปรโตคอลหลายชนิดด้วยกัน เช่น TCP/IP รวมทั้งการติดตั้งระบบเครือข่ายอินทราเน็ต และความสามารถในการจัดการระบบต่าง ๆ เช่น Web-based Management , File System, Javaเป็นต้น
        2. Window NT, Windows 2000 Server เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟต์ จำกัด ประมาณปลายปี 1995 สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มต้นไมโครซอฟต์ต้องการพัฒนาเป็นแอปปลิเคชั่น เซอร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบันสามารถประยุกต์ได้เป็น
ดาต้าเบสเซอรฟ์เวอร์ และอินเทอร์เน็ตเซอร์ฟเวอร์



        3. Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่กำเนิดมาบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe) ที่รองรับผู้ใช้จำนวนมากสำหรับระบบเครือข่าย
ในหน่วยงานใหญ่ๆ เป็นโปรแกรมจัดการระบบงาน (Operating system) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง ได้รับการออกแบบโดยห้องปฏิบัติ
การเบลล์ของบริษัท AT&T ในปี คศ. 1969 ถึงแม้ว่าระบบ Unix จะคิดค้นมานานแล้ว แต่ยังเป็นที่นิยมใช้กันมากมาจนถึงปัจจุบัน  โดยเฉพาะ
ระบบ พื้นฐานของอินเตอร์เนต เนื่องจากมีความคล่องตัวสูง ตลอดจนสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หลายชนิด นอกจากนั้น Unix ยังเป็นระบบ ใช้ในลักษณะผู้ใช้ร่วมกันหลายคน (Mutiuser) และงานหลายงานในขณะเดียวกัน (Mutitasking) ผู้ใช้สามารถดัดแปลง หรือเพิ่มคำสั่งใน Unix ด้วยตนเองเพื่อความสะดวกได้
4. Linux เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับระบบเครือข่าย ที่อยู่ในกลุ่มของ FreeWare ที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูง Linux พัฒนาขึ้นโดย
นายไลนัส ทอร์วัลด์ (Linus Torvalds) ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเฮซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เขาได้ส่งซอร์สโค้ด(Source Code) ให้นักพัฒนาทั่วโลกร่วมกันพัฒนา โดยข้อดีของ Linux สามารถทำงานได้พร้อมกัน (Multitasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน(MultiUser) ทำให้เป็นที่นิยมแพร่หลาย บางคนกล่าวว่า "Linux ก็คือน้องของ Unix" แต่จริงๆ แล้วลีนุกซ์มีข้อดีกว่ายูนิกซ์(Unix) คือสามารถทำงาน ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ที่ใช้งานอยู่ทั่วๆ ไป เพราะว่า Linux เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ทรัพยากรน้อย และมีเสถียรภาพในการดูแล
ระบบได้ดี

        5. NetBUEI พัฒนาโดย IBM ในปี ค . ศ .1985 เป็นโปรโตคอลที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดทำงานได้รวดเร็ว เหมาะสมกับระบบเครือข่ายที่มีขนาด
เล็ก ไม่เหมาะกับเครือข่ายขนาดใหญ่เนื่องจากไม่สามารถค้นหาเส้นทางได้

        6. OS/2 Warp เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่าย ที่บริษัทไอบีเอ็ม พัฒนาขึ้น เพื่อนำเสนอสำหรับการค้าขายในยุคดิจิตอลซึ่งไม่ค่อยประสบความ
สำเร็จนักต่อมาจึงเพิ่มในส่วนของ e-Business คือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีการออกแบบเวอร์ชันใหม่ ๆ เช่น OS/2 Server เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

บริการต่าง ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่าย
1. การบริการจัดเก็บไฟล์และการพิมพ์ ถือเป็นจุดประสงค์หลักของการสร้างระบบปฏิบัติการเครือข่าย ดังนั้นการบริการจัดเก็บไฟล์และการพิมพ์จึงเป็น
บริการหลักที่ระบบปฏิบัติการเครือข่ายทุกประเภทต้องมี เพื่อใช้ในการควบคุมการเข้าใช้ทรัพยากรเหล่านี้
2. การบริการดูแลและจัดการระบบ หมายถึงการจัดการเกี่ยวกับรายละเอียดของผู้ใช้งาน การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครือข่าย
การเฝ้าดูการทำงานของระบบเครือข่าย เพื่อทราบถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเพื่อให้สามารถแก้ปีญหานั้นได้ทันเวลา
3. การบริการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ถือเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง เพราะถ้าข้อมูลในระบบเครือข่ายถูกทำลายไปทำให้เกิดความเสียหายได้
นอกจากนี้ข้อมูลบางอย่างที่เป็นความลับขององค์กร จะต้องมีการจำกัดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น
4. การบริการอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต หมายถึงการบริการทางด้าน DNS Server , Web Server, Mail Server เป็นต้น ซึ่งเป็นการบริการ
ที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในระบบเครือข่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
5. การบริการ MultiProcessing และ Clustering Service การใช้งานผ่านระบบเครือข่ายจะต้องเกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานจำนวน ดังนั้นระบบเครือข่าย
ที่ดี จึงควรเป็นระบบที่มีความเชื่อถือได้ สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย โดยไม่มีผลทำให้การทำงานของเครือ
ข่ายหยุดชะงัก
 เทคนิคการส่งข้อมูลผ่านสื่อกลาง
1.1 การส่งข้อมูลแบบเบสแบนด์ (Baseband)
     การส่งข้อมูลในระบบเบสแบนด์นั้น จะมีช่องทางสื่อสารเพียงช่องทางเดียว ดังนั้นจึงต้องมีเทคนิคในการจัดการข้อมูล เพื่อป้องกันการชนกันของข้อมูล ซึ่งเทคนิคที่นิยมใช้กันคือเทคนิค CSMA / CD ( Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection ) โดยอุปกรณ์ที่จะส่งข้อมูลนั้นจะ
คอยตรวจสอบว่า มีอุปกรณ์อื่นกำลังส่งข้อมูลอยู่หรือไม่ ถ้ามีก็จะคอยก่อน ถ้าไม่มีหรือว่าง ก็จะทำการส่งข้อมูลทันที ซึงระบบเครือข่าย LAN จะใช้วิธีการส่ง
ข้อมูลแบบชนิดนี้
1.2 การส่งข้อมูลแบบบรอดแบนด์ (Broadband)     การส่งข้อมูลแบบบรอดแบนด์นี้ จะเป็นการส่งข้อมูลหลายช่องทาง ด้วยความถี่ที่แตกต่างกันโดยใช้สายสัญญาณของคลื่นวิทยุในการส่งข้อมูล
สัญญาณเดียวหรือหลายสัญญาณบนสายส่งข้อมูลเส้นเดียว เช่นการส่งข้อมูลพร้อมกับเสียงและสัญญาณวีดิโอ สายสัญญาณชนิดนี้ราคาค่อนข้างแพง
เมื่อเทียบกับสายแบบเบสแบนด์

การแบ่งกันใช้สายเพื่อส่งข้อมูล
     เนื่องจากในระบบเครือข่ายนั้น จะมีสายสัญญาณชุดเดียวกัน เพื่อใช้ในการติดต่อส่งข้อมูลซึ่งกันและกัน จึงต้องมีวิธีการที่จะต้องแบ่งเวลาในการใช้สาย
ให้ทั่วถึงกัน โดยทั่วไปจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบด้วยกัน คือ
2.1 CSMA / CD ( Carrier Sense Multiple Access / Collision Detection)
     วิธีนี้จะใช้สายสัญญาณชุดเดียวกันในการส่งข้อมูล โดยวิธีการนี้จะเป็นวิธีที่ให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องคอยฟังและตรวจสอบว่า สายว่างหรือไม่
( Carrier Detection ) ถ้าว่างก็จะเริ่มทำการส่งสัญญาณออกมา และถ้าสายว่างข้อมูลที่ส่งไปก็จะถึงผู้รับทันที แต่ในการเริ่มส่งสัญญาณนี้อาจจะตรง
กับสถานีอื่น ๆ ก็ได้ ดังนั้นก็จะเกิดสัญญาณชนกัน ทำให้ข้อมูลนั้นไม่สามารถที่จะส่งไปให้ถึงผู้รับได้ เมื่อเกิดสัญญาณชนกันแล้ว แต่ละเครื่องที่จะส่ง
ข้อมูลมานั้นก็จะหยุดส่ง และรอ โดยจะทำการนับถอยหลังของเวลาที่สุ่มมาให้แตกต่างกันระหว่างแต่ละเครื่องเมื่อครบเวลาที่นับถอยหลังในแต่ละเครื่อง
แล้ว ก็จะทำการส่งข้อมูลไปใหม่ โดยการส่งครั้งใหม่นี้ก็จะไม่มีการชนกันระหว่างข้อมูลคู่เดิมอีก เนื่องจากใช้เวลาในการรอส่งข้อมูลที่แตกต่างกัน โดย CSMA/CD นี้แพร่หลายในระบบ LAN ทั่วไป โดยเฉพาะที่เป็นเครือข่ายแบบ Ethernet แต่สำหรับข้อเสียนั้นก็คือในเรื่องของสัญญาณชนกัน ในระหว่างส่งข้อมูลโดยหากในระบบมีปริมาณการส่งข้อมูลมาก ก็จะมีการชนของข้อมูลมากเช่นกัน

2.2 Token Passing
     วิธีการนี้สามารถใช้กับ Topology หลายแบบด้วยกัน เช่น Bus, Star, Ring โดยวิธีการนี้จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวในช่วงเวลาหนึ่ง
ที่มีสิทธิในการส่งข้อมูล โดยมีรหัส Token เก็บไว้ และเมื่อทำการส่งข้อมูลออกไปแล้ว ก็จะทำการส่งรหัส Token นี้ออกไปให้เครื่องอื่น ๆ ตามลำดับ
ที่ได้กำหนดไว้ เมื่อเครื่องใดได้รับรหัสแล้ว ถ้าเครื่องนั้นไม่ต้องการส่งข้อมูลก็จะส่งรหัสนี้ต่อไปยังเครื่องอื่นต่อไป ถ้าเครื่องนั้นต้องการส่งข้อมูลก็ให้ส่ง
ข้อมูลออกมาก่อน แล้วค่อยส่งรหัสออกไปให้เครื่องอื่นทราบตามลำดับ ซึ่งวิธีนี้ จะทำให้ทุกเครื่องในเครือข่ายจะได้รับสิทธิในการส่งข้อมูล 1 ครั้ง ภายใน 1 รอบการทำงาน ทำให้สามารถจำกัดเวลาได้ว่าจะส่งข้อมูลออกไปได้ภายในเวลาไม่เกินกี่ millisecond

อุปกรณ์ในระบบเครือข่าย
     นอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 2 เครื่องขึ้นไปแล้ว ยังต้องมีอุปกรณ์เน็ตเวิร์กที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างกันอีกด้วย ซึ่งจะต้องหาซื้อมาติดตั้งลง
ไปในเครื่อง อุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้งานคือการ์ดเน็ตเวิร์ก, สายแลนด์, หรือหัวต่อสายเคเบิ้ล, หัวต่อสายแลนด์, ฮับ, และสวิตช์

1.1 NIC
1.2 HUB1, HUB 2 , HUB 3 , HUB 4 , การทำงาน
1.3 Switch , Switching Hub
1.4 Bridge
1.5 Router, Router , Wireless Router , การทำงาน
1.6 Repeater , การทำงาน
1.7 Internal Modem , External Modem , ADSL Modem , การทำงาน ,
    

OSI Model
      แบบจำลอง OSI Model , หน้าที่ของแต่ละชั้นของ OSI Model
1.1 Application Layer
     ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างผู้ใช้งานกับโปรแกรมใช้งาน โดยจะแบ่งคำสั่งต่าง ๆ ที่ผู้ใช้กำหนดผ่านทางเมนู หรือ การคลิกเมาส์
ส่งให้โปรแกรมใช้งาน ซึ่งโปรแกรมใช้งานจะไปเรียก Function ที่ให้บริการจากระบบปฏิบัติการอีกต่อหนึ่ง 

ดังนั้นคำสั่งหรือข้อมูลที่ผู้ใช้ส่งมาให้จะต้องถูกต้องตามกฏเกณฑ์ของระบบปฏิบัติการนั้น ๆ หากมีข้อผิดพลาด Function ที่เรียกใช้งานก็จะ
แจ้งกลับมายังโปรแกรมและ โปรแกรมใช้งานก็จะแสดงข้อความการผิดพลาดให้กับผู้ใช้อีกต่อหนึ่ง ลักษณะการทำงานส่วนใหญ่ในชั้นนี้ได้แก่
การระบุตำแหน่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง การกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล ตัวอย่าง เช่น การเข้าใช้งานระบบ E-mail การโอนถ่าย
ไฟล์ในเครือข่าย

1.2 Presentation Layer
     เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างชั้น Application Layer และ Session Layer ให้เข้าใจกัน โดยจะเป็นการสร้างขบวนการย่อยในการ
ทำงานระหว่างกัน และ จัดรูปแบบการนำเสนอข้อมูลในการสื่อสารให้เข้าใจกันได้ เช่้น การแปลงรหัสข้อมูล การเข้ารหัส (Encrypt) และการ
ถอดรหัส (Decrypt)

1.3 Session Layer
     เป็นชั้นที่ทำหน้าที่สร้างส่วนติดต่อในการสื่อสารข้อมูล โดยกำหนดจังหวะในการรับ-ส่งข้อมูลว่าจะทำงานในแบบผลัดกันส่ง (Half-Duplex)
หรือ ส่งรับพร้อมกัน (Full-Duplex) โดยจะสร้างเป็นส่วนของชุดข้อมูลโต้ตอบกัน

1.4 Transport Layer
     ทำหน้าที่แบ่งข้อมูลที่มีขนาดใหญ่เกินมาตรฐานการรับ-ส่ง ออกเป็นส่วนย่อย ให้เหมาะสมกับการทำงานทาง Hardware ของอุปกรณ์ในระบบ
เครือข่ายตามมาตรฐานที่ใช้งาน

1.5 Network Layer
     ทำหน้าที่เชื่อมต่อและกำหนดเส้นทางในการรับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย โดยจะนำข้อมูลในชั้นบนที่ส่งมาในรูปของ Package หรือ Frame
ซึ่งมีเพียง Address ของผู้รับ-ผู้ส่ง ลำดับการรับ-ส่งข้อมูล และส่วนของขัอมูล นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการสถาปนาการเชื่อมต่อในครั้งแรก
(call Setup) และการยกเลิกการเชื่อมต่อ (Call Clearing)

1.6 Data Link Layer
      ทำหน้าที่ในการจัดเตรียมข้อมูลในการเชื่อมต่อให้กับอุปกรณ์ทางฮาร์ดแวร์ โดยหลังจากที่ได้รับข้อมูลจากชั้น Network Layer ที่กำหนดเส้น
ทางในการติดต่อมาให้ ก็จะทำการสร้างคำสั่งที่ใช้ควบคุมฮาร์ดแวร์ในกาาติดต่อ และทำการตรวจสอบข้อผิดพลาดในการรับ-ส่งข้อมูล เพื่อให้ข้อมูล
ที่รับ-ส่งตรงกันกับมาตรฐานการรับ-ส่งข้อมูลในระดับฮาร์ดแวร์ เช่น มาตรฐานอีเธอร์เน็ต (Ethernet) มาตรฐานโทเค็นริง (Token Ring)

1.7 Physical Layer
     เป็นชั้นล่างสุดของแบบจำลอง OSI Model และเป็นชั้นที่มีการเชื่อมต่อจริงทางกายภาพ ในชั้นนี้จะเป็นส่วนที่ใช้กำหนดคุณสมบัติทางกายภาพ
ของอุปกรณ์ที่จะนำมาเชื่อมต่อกัน เช่น จะใช้ขั่วต่อสัญญาณแบบใด ใช้การรับ-ส่งข้อมูลแบบใด ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลที่ใช้เป็นเท่าใด ข้อมูล
ในชั้นนี้จะอยู่ในรูปของสัญญาณทางไฟฟ้าแบบ Digital หากมีปัญหาในการรับ-ส่งทางฮาร์ดแวร์ เช่น สายรับ-ส่งข้อมูลขาด หรือ อุปกรณ์ในเครือ
ข่ายชำรุดเสียหาย ก็จะทำการตรวจสอบและส่งข้อมูลความผิดพลาดไปให้ชั้นอื่น ๆ ที่อยู่เหนือขึ้นไปได้รับทราบ 

  http://www.v-bac.ac.th/Section/S_IT/Computer%20Network/unit7.html


ความแตกต่างของโมเด็ม
  • ADSL Modem กับ Modem ที่เราใช้งานปกติ ไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้ (คนละประเภท)
  • ADSL Modem ไม่สามารถใช้ในการรับ-ส่งแฟ๊กซ์ได้ เหมือนกับ Modem ธรรมดา
  • ราคาของ ADSL Modem จะแพงกว่า Modem ธรรมดามากพอสมควร

    ความเหมือนกัน
  • การติดตั้ง ADSL Modem จะต้องมีการติดตั้ง driver เช่นเดียวกับ Modem ธรรมดา
  • การต่อสายสัญญาณของโทรศัพท์ และการต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ จะมีวิธีการเหมือนกัน
ความแตกต่างระหว่างฮับและเราท์เตอร์
อุปกรณ์ฮับ (Hub) จะถูกใช้สำหรับการเชื่อโยงคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่อง ให้ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย โดยสายเคเบิลที่เชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อกลับเข้ามาที่ตัวฮับ ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถแชร์ไฟล์ และเครื่องพิมพ์ ได้เป็นต้น

ส่วนอุปกรณ์ที่เรียกว่า Router จะถูกนำไปใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่ง (เช่นที่บ้านของคุณ) เข้ากับอีกเครือข่ายหนึ่ง (อินเตอร์เน็ต) ในกรณีนี้แนะนำให้ใช้อุปกรณ์เราเตอร์ที่มาพร้อมกับฮับในตัว เพราะมันจะช่วยให้คุณสามารถใช้ฮับเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในบ้านได้ และเราเตอร์สำหรับเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั่นเอง

OSI Model
      แบบจำลอง OSI Model , หน้าที่ของแต่ละชั้นของ OSI Model
1.1 Application Layer
     ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างผู้ใช้งานกับโปรแกรมใช้งาน โดยจะแบ่งคำสั่งต่าง ๆ ที่ผู้ใช้กำหนดผ่านทางเมนู หรือ การคลิกเมาส์
ส่งให้โปรแกรมใช้งาน ซึ่งโปรแกรมใช้งานจะไปเรียก Function ที่ให้บริการจากระบบปฏิบัติการอีกต่อหนึ่ง

ดังนั้นคำสั่งหรือข้อมูลที่ผู้ใช้ส่งมาให้จะต้องถูกต้องตามกฏเกณฑ์ของระบบปฏิบัติการนั้น ๆ หากมีข้อผิดพลาด Function ที่เรียกใช้งานก็จะ
แจ้งกลับมายังโปรแกรมและ โปรแกรมใช้งานก็จะแสดงข้อความการผิดพลาดให้กับผู้ใช้อีกต่อหนึ่ง ลักษณะการทำงานส่วนใหญ่ในชั้นนี้ได้แก่
การระบุตำแหน่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง การกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล ตัวอย่าง เช่น การเข้าใช้งานระบบ E-mail การโอนถ่าย
ไฟล์ในเครือข่าย

1.2 Presentation Layer
     เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างชั้น Application Layer และ Session Layer ให้เข้าใจกัน โดยจะเป็นการสร้างขบวนการย่อยในการ
ทำงานระหว่างกัน และ จัดรูปแบบการนำเสนอข้อมูลในการสื่อสารให้เข้าใจกันได้ เช่้น การแปลงรหัสข้อมูล การเข้ารหัส (Encrypt) และการ
ถอดรหัส (Decrypt)

1.3 Session Layer
     เป็นชั้นที่ทำหน้าที่สร้างส่วนติดต่อในการสื่อสารข้อมูล โดยกำหนดจังหวะในการรับ-ส่งข้อมูลว่าจะทำงานในแบบผลัดกันส่ง (Half-Duplex)
หรือ ส่งรับพร้อมกัน (Full-Duplex) โดยจะสร้างเป็นส่วนของชุดข้อมูลโต้ตอบกัน

1.4 Transport Layer
     ทำหน้าที่แบ่งข้อมูลที่มีขนาดใหญ่เกินมาตรฐานการรับ-ส่ง ออกเป็นส่วนย่อย ให้เหมาะสมกับการทำงานทาง Hardware ของอุปกรณ์ในระบบ
เครือข่ายตามมาตรฐานที่ใช้งาน
1.5 Network Layer
     ทำหน้าที่เชื่อมต่อและกำหนดเส้นทางในการรับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย โดยจะนำข้อมูลในชั้นบนที่ส่งมาในรูปของ Package หรือ Frame
ซึ่งมีเพียง Address ของผู้รับ-ผู้ส่ง ลำดับการรับ-ส่งข้อมูล และส่วนของขัอมูล นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการสถาปนาการเชื่อมต่อในครั้งแรก
(call Setup) และการยกเลิกการเชื่อมต่อ (Call Clearing)

1.6 Data Link Layer
      ทำหน้าที่ในการจัดเตรียมข้อมูลในการเชื่อมต่อให้กับอุปกรณ์ทางฮาร์ดแวร์ โดยหลังจากที่ได้รับข้อมูลจากชั้น Network Layer ที่กำหนดเส้น
ทางในการติดต่อมาให้ ก็จะทำการสร้างคำสั่งที่ใช้ควบคุมฮาร์ดแวร์ในกาาติดต่อ และทำการตรวจสอบข้อผิดพลาดในการรับ-ส่งข้อมูล เพื่อให้ข้อมูล
ที่รับ-ส่งตรงกันกับมาตรฐานการรับ-ส่งข้อมูลในระดับฮาร์ดแวร์ เช่น มาตรฐานอีเธอร์เน็ต (Ethernet) มาตรฐานโทเค็นริง (Token Ring)
1.7 Physical Layer
     เป็นชั้นล่างสุดของแบบจำลอง OSI Model และเป็นชั้นที่มีการเชื่อมต่อจริงทางกายภาพ ในชั้นนี้จะเป็นส่วนที่ใช้กำหนดคุณสมบัติทางกายภาพ
ของอุปกรณ์ที่จะนำมาเชื่อมต่อกัน เช่น จะใช้ขั่วต่อสัญญาณแบบใด ใช้การรับ-ส่งข้อมูลแบบใด ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลที่ใช้เป็นเท่าใด ข้อมูล
ในชั้นนี้จะอยู่ในรูปของสัญญาณทางไฟฟ้าแบบ Digital หากมีปัญหาในการรับ-ส่งทางฮาร์ดแวร์ เช่น สายรับ-ส่งข้อมูลขาด หรือ อุปกรณ์ในเครือ
ข่ายชำรุดเสียหาย ก็จะทำการตรวจสอบและส่งข้อมูลความผิดพลาดไปให้ชั้นอื่น ๆ ที่อยู่เหนือขึ้นไปได้รับทราบ
 http://www.v-bac.ac.th/Section/S_IT/Computer%20Network/unit7.html


อุปกรณ์ในเครือข่าย
การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้ 
โมเด็ม ( Modem : Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก(Analog) เมื่อถึงคอมพิวเตอร์ด้านผู้รับ โมเด็มก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาลอก ให้เป็นดิจิตอลนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผล โดยปกติจะใช้โมเด็มกับระบบเครือข่ายระยะไกล โดยการใชสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลาง เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
ฮับ ( Hub) คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการเชื่อมต่อของเครือข่ายแบบดาว (Star) โดยปกติใช้เป็นจุดรวมการเชื่อมต่อสายสัญญาณระหว่าง File Server กับ Workstation ต่าง ๆ 
 ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ จัดการระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ทำหน้าที่จัดการด้านการรักษาความปลอดภัย ของระบบเครือข่าย และยังมีหน้าที่ควบคุม การนำโปรแกรมประยุกต์ ด้านการติดต่อสื่อสาร มาทำงานในระบบเครือข่ายอีกด้วย นับว่าซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย มีความสำคัญต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Windows NT , Linux , Novell Netware , Windows XP ,Windows 2000 , Solaris , Unix เป็นต้น

        1. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (bus topology)
        โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส จะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน จะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิ้ลแต่ละเครื่อง ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มีข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา
        2. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)
        โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (star topology)
        โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุกศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย
ในเรื่องนี้จะอธิบายถึงโครงสร้างของเครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นพื้นฐานก่อนที่จะอธิบาย
รายละเอียดต่าง ๆ ของเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างเครือข่ายในเรื่องอื่นอีก ซึ่งระบบเครือข่าย
ในทางคอมพิวเตอร์นั้นก็คือ ระบบที่เกิดจากการนำเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
เครื่องคอมพิวเตอร์ พรินเตอร์ สแกนเนอร์ Hub/switch หรืออุปกรณ์อื่น ๆ มาเชื่อมต่อกัน
โดยใช้สื่อ (transmission media) ต่าง ๆ เช่น สายเคเบิลชนิดต่าง ๆ ซึ่งอาจทำด้วยทองแดงหรือใยแก้วนำแสง หรืออาจเป็นสื่อแบบไร้สาย เช่น คลื่นวิทยุ อินฟาเรด หรือไมโครเวฟ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดต่อหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน หรือเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การแชร์พรินเตอร์หรือการแชร์ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น โครงสร้างของเครือข่ายหรือภาษาทางเทคนิคเรียกว่า “Topology” คือลักษณะการเชื่อต่อทางกายภาพระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ในระบบเครือข่าย ซึ่งหากจะแบ่งประเภทของโครงสร้างเครือข่ายกันจริง ๆ ตามหลักวิชาการที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยก่อน ๆ นั้น ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 แบบคือ
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (TOPOLOGY)
        การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของการสื่อสารนั้น สามารถกระทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป โดยทึ่วไปแล้วโครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามลักษณะของการเชื่อมต่อดังต่อไปนี้


1. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (bus topology)
        โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส จะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน จะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิ้ลแต่ละเครื่อง ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มีข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา
        2. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)
        โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใด

เครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
        3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (star topology)
        โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุกศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย
http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/network.html
ในเรื่องนี้จะอธิบายถึงโครงสร้างของเครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นพื้นฐานก่อนที่จะอธิบาย
รายละเอียดต่าง ๆ ของเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างเครือข่ายในเรื่องอื่นอีก ซึ่งระบบเครือข่าย
ในทางคอมพิวเตอร์นั้นก็คือ ระบบที่เกิดจากการนำเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
เครื่องคอมพิวเตอร์ พรินเตอร์ สแกนเนอร์ Hub/switch หรืออุปกรณ์อื่น ๆ มาเชื่อมต่อกัน
โดยใช้สื่อ (transmission media) ต่าง ๆ เช่น สายเคเบิลชนิดต่าง ๆ ซึ่งอาจทำด้วยทองแดงหรือใยแก้วนำแสง หรืออาจเป็นสื่อแบบไร้สาย เช่น คลื่นวิทยุ อินฟาเรด หรือไมโครเวฟ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดต่อหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน หรือเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การแชร์พรินเตอร์หรือการแชร์ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น โครงสร้างของเครือข่ายหรือภาษาทางเทคนิคเรียกว่า “Topology” คือลักษณะการเชื่อต่อทางกายภาพระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ในระบบเครือข่าย ซึ่งหากจะแบ่งประเภทของโครงสร้างเครือข่ายกันจริง ๆ ตามหลักวิชาการที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยก่อน ๆ นั้น ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 แบบคือ
1. โครงสร้างแบบสตาร์ (Star Network)
ลักษณะการเชื่อมต่อของโครงสร้างแบบสตาร์จะคล้าย ๆ กับดาวกระจาย ดังรูปที่ได้แสดงไว้
คือมีอุปกรณ์ประเภท Hub หรือ Switch เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อแบบนี้มีประโยชน์คือ เวลาที่มีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดหรือเสียก็จะไม่มีผลต่อการทำงานของระบบโดยรวมแต่อย่างใด นอกจากนี้หากต้องการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่ายก็สามารถทำได้ทันทีโดย
ไม่ต้องหยุดการทำงานของเครือข่ายก่อน การต่อแบบสตาร์นี้เป็นแบบที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากราคาอุปกรณ์ที่มาใช้เป็นศูนย์กลางอย่าง Hub หรือ Switch ลดลงมากในขณะที่ประสิทธิภาพหรือความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบันได้ความเร็วถึงระดับของกิกาบิต (1,000 Mbps) แล้ว



2. โครงสร้างแบบแหวน (Ring Network)
โครงสร้างแบบนี้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับสายเคเบิลเส้นเดียวเป็นวงแหวนดังรูป
ที่ได้แสดงไว้ การส่งข้อมูลจะใช้ทิศทางเดียวกันตลอดโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ถัดกัน
ไปเป็นทอด ๆ ถ้าแอดเดรสของมันไม่ตรงกับผู้รับตามที่เครื่องต้นระบุมา มันก็จะส่งผ่านไปยัง
เครื่องถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายคือตรงกับใครเครื่องนั้นก็รับ ไม่ส่งต่อ โครงสร้างแบบน
ี้มีข้อเสียคล้าย ๆ กับแบบบัส คือเมื่อสายเคเบิลช่วงใดช่วงหนึ่งขาดจะทำให้ทั้งระบบใช้งานไม่ได้ อย่างไรก็ตามเครือข่ายแบบวงแหวนมักใช้สายเคเบิลที่มีวงแหวนสำรองที่สามารถส่งข้อมูลใน
ทิศทางกลับกัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในกรณีที่เครือข่ายมีปัญหา ซึ่งราคาแพงพอสมควร นอกจากนี้การเพิ่มเครื่องเข้าไปในเครือข่ายจะต้องปิดการทำงานของระบบก่อนเช่นเดียวกับแบบบัส เครือข่ายแบบนี้ปัจจุบันยังใช้กันอยู่ โดยเฉพาะในเครือข่ายของผลิตภัณฑ์ในตระกูล IBM ซึ่งโดยมากจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์
3. โครงสร้างเครือข่ายแบบบัส (Bus Network)
คือลักษณะการเชื่อมต่อแบบอนุกรม โดยใช้สายเคเบิลเส้นยาวต่อเนื่องกันไปดังรูปที่ได้แสดงไว้ โครงสร้างแบบนี้มีจุดอ่อนคือเมื่อคอมพิวเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหากับสายเคเบิล ก็จะทำให้เครือข่ายรวนไปทั้งระบบ นอกจากนี้เมื่อมีการเพิ่มคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่าย อาจต้องหยุดการใช้งานของระบบเครือข่ายก่อน เพื่อตัดต่อสายเข้าเครื่องใหม่ ส่วนข้อดีคือโครงสร้างแบบบัสนี้ไม่ต้องมีอุปกรณ์อย่าง Hub หรือ Switch ใช้เพียงเส้นเดียวก็สามารถเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่มาก ปัจจุบันไม่ค่อยใช้กันแล้ว เนื่องจากไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มเติม ทำให้ความเร็วถูกจำกัดอยู่ที่ 10 Mbps และถูกทดแทนโดยการเชื่อมต่อแบบสตาร์
4. โครงสร้างเครือข่ายแบบผสม (Hybrid Network)
เป็นการเชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน
5. โครงสร้างเครือข่ายแบบเมซ (Mesh Network)
เป็น Topology ที่ถือว่าป้องกันการผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากเราเดินสาย Cable ไปเชื่อม ต่อกับ Station ทุก Station โดยเมื่อสายจาก Station ใดเกิดมีปัญหาขึ้นก็จะยังสามารถใช้สายอื่นที่เหลืออีกได้ ระบบนี้ยากต่อการ เดินสายและมีราคาแพงมาก จึงยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก
        ปกติระบบ LAN จะประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งการ์ด LAN อุปกรณ์กระจายสัญญาณที่เรียกว่า Hub และสายที่ต่อระหว่างเครื่องกับ Hub ซึ่งแต่ส่วนมีรายละเอียดดังนี้
การ์ดแลน LAN (Network Interface Card:NIC)

เครื่องพีซีจะเชื่อต่อกันเป็นระบบ LAN ขึ้นมานั้น แต่ละเครื่องต้องติดตั้งการ์ด LAN เครื่องรุ่นใหม่ๆอาจจะมีการ์ด LAN ฝังตัวอยู่ในบอร์ดให้แล้ว (Lan Onboard) หรือในโน๊ตบุ๊คใหม่ๆก็มักจะมีพอร์ต LAN มาให้แล้ว โดยส่วนใหญ่จะมีความเร็ว 1000หรือ100 เมกกะบิต (ถ้าเป็นรุ่นเก่าจะมีความเร็วเพียง 10 เมกกะบิตต่อวินาทีเท่านั้น) เรียกว่าเป็น Fast Ethernet และบางแบบก็อาจใช้ได้ทั้ง 2 ความเร็วโดยสามารถปรับแบบอัตโนมัติแล้วแต่จะไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Hub หรือ Switch แบบใดการ์ด LAN รุ่นใหม่จะมีคุณสมบัติ Plug&Play หรือ PnP มักเสียบเข้ากับสล๊อตแบบ PCI (การ์ดรุ่นเก่าจะใช้กับสล๊อตแบบ ISA ซึ่งไม่ค่อยพบแล้ว จึงไม่ขอกล่าวถึง) โดยมีช่องด้านหลังเครื่องให้เสียบสายได้
อุปกรณ์กระจายสัญญาณ Hub และ Switch
โครงสร้างของระบบ LAN ทั่วไปจะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ โดยใช้สายชนิดที่เรียกว่า UTP เป็นตัวเชื่อมต่อ ซึ่งในการทำงานจริงข้อมูลที่ส่งออกมาจากการ์ด LAN ของแต่ละเครื่องจะถูกกระจายต่อไปยังทุกเครื่องที่ต่อกับ HUB นั้น เหมือนกับการกระจายเสียงหรือ broadcast ไปให้ทุกคนรับรู้แต่เฉพาะเครื่องที่ถูกเจาะจงให้เป็นผู้รับเท่านั้นจึงจะรับข้อมูลไปอ่าน แต่สายทุกเส้นจะต้องมีข้อมูลนี้วิ่งไปด้วย คือส่งได้ทีละเครื่องเท่านั้น
นอกจาก Hub แล้วยังมีอุปกรณ์อื่นๆเช่น Switch ซึ่งใช้เชื่อมต่อใน Lan ได้เช่นเดียวกัน แต่มีประสิทธิภาพดีกว่า เพราะ Switch จะดูว่าเครื่องใดเป็นผู้รับแล้วส่งต่อเฉพาะสายเส้นที่ไปยังเครื่องนั้น สายของเครื่องอื่นๆจึงว่างพอที่จะรับส่งข้อมูลอื่น ได้พร้อมกันหลายๆชุด
สาย UTP (Unshield Twisted Pair)

สายที่ใช้กับ LAN เรียกว่าสาย UTP (Unshield Twisted Pair) ซึ่งใช้หัวต่อแบบ RJ-45 ซึ่งมีทั้งหมด 8 ขา สายแบบนี้ที่เข้าหัวไว้แล้วจะหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป หรือจะซื้อแบบเป็นม้วนมาตัดเข้าหัวเองก็ได้ แต่ต้องมีเครื่องมือหรือคีมเข้าหัว RJ-45 โดยเฉพาะ มีข้อจำกัดคือ จะต้องยาวไม่เกิน 100 เมตร จากเครื่องไปยัง Switch และแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน คือ
สายตรง (Straight-through Cable) คือสายปกติที่ใช้เชื่อมระหว่างการ์ด LAN และ Hub / Switch
สายไขว้ (Crossover Cable) ใช้ต่อการ์ด LAN บนคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องหรือพอร์ตของ Hub หรือ Switch 2 ตัวโดยตรง เพื่อเพิ่มขยายพอร์ต ซึ่งวิธีการเข้าหัวจะต่างจากปกติ



อินเทอร์เน็ต
ตัวอย่างการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่แพร่หลายและใช้กันมากเท่านั้น แต่ยังมีการใช้งานอื่น ๆ อีกมากที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาตลอดเวลา
1. การรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
เป็นระบบการสื่อสารทางจดหมายผ่านคอมพิวเตอร์ ถ้าเราต้องการส่งข้อความถึงใครก็สามารถเขียนเป็นเอกสาร แล้วจ่าหน้าซองที่อยู่ของผู้รับที่เรียกว่า แอดเดรส ระบบจะนำส่งให้ทันทีอย่างรวดเร็ว ลักษณะของแอดเดรสจะเป็นชื่อรหัสผู้ใช้ และชื่อเครื่องประกอบกัน เช่น sombat@nontri.ku.ac.th การติดต่อบนอินเทอร์เน็ตนี้ จะหาตำแหน่งให้เองโดยอัตโนมัติ และนำส่งไปปลายทางได้อย่างถูกต้อง การรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (email) กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
2. การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน
เป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้สามารถรับส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างกันหรือมีสถานีให้บริการ เก็บแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในที่ต่าง ๆ และให้บริการ ผู้ใช้สามารถเข้าไปคัดเลือกนำแฟ้มข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้

3. การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล
การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย ทำให้เราสามารถ เรียกหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีบริการใน ที่ห่างไกลได้ ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปประมวลผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่าย โดยไม่ต้องเดินทางไปเอง
4. การเรียกค้นข้อมูลข่าวสาร
ปัจจุบันมีฐานข้อมูลที่เก็บไว้ให้ใช้งานจำนวนมาก ฐานข้อมูลบางแห่งเก็บข้อมูลในรูปสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้สามารถ เรียกอ่าน หรือนำมาพิมพ์ ลักษณะการเรียกค้นนี้จึงมีลักษณะเหมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่าย ที่สามารถค้นหาข้อมูลใด ๆ ก็ได้ ฐานข้อมูล ในลักษณะนี้เรียกว่า เครือข่ายใยแมงมุมครอบคลุมทั่วโลก(World Wide Web : WWW) เป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก
5. การอ่านจากกลุ่มข่าว
ภายในอินเทอร์เน็ตมีกลุ่มข่าวเป็นกลุ่ม ๆ แยกตามความสนใจ แต่ละกลุ่มข่าว อนุญาตให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่งข้อความ ลงไปได้ และหากมีผู้ต้องการเขียนโต้ตอบก็สามารถเขียนตอบได้ กลุ่มข่าวนี้จึงแพร่หลายกระจายข่าวได้รวดเร็ว
6. การสนทนาบนเครือข่าย
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลาง ในการติดต่อสนทนากันได้ ในยุคแรกใช้วิธีการสนทนาเป็นตัวหนังสือ ต่อมา พัฒนาให้ใช้เสียงได้ ปัจจุบันถ้าระบบสื่อสารมีความเร็วพอก็สามารถสนทนาโดยที่เห็นหน้ากันและกันบนจอภาพได้
7. การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย
ปัจจุบันมีผู้ตั้งสถานีวิทยุบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหลายร้อยสถานี ผู้ใช้สามารถเลือกสถานที่ต้องการและได้ยินเสียงเหมือน การเปิดฟังวิทยุ ขณะเดียวกันก็มีการส่งกระจายภาพวีดิโอบนเครือข่ายด้วย


ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
   เมื่อเทคโนโลยีเครือข่ายได้รับการพัฒนาโดยเฉพาะมีการประยุกต์ใช้งานบนเครือข่ายอย่างกว้างขวาง  ทำให้เครือข่าย คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเดียวกัน  เรียกว่า  อินเทอร์เน็ต   ขณะเดียวกันในองค์กรแต่ละองค์กร ก็มีการพัฒนาเครือข่ายของตนเองและประยุกต์ใช้กับงานเฉพาะในองค์กร เรียกว่าอินทราเน็ต  ดังนั้น  อินเทอร์เน็ตจึง แตกต่างจากอินทราเน็ตตรงที่ขอบเขตของการเชื่อมโยง  ส่วนมาตรฐานและวิธีการเชื่อมโยงยังคงเป็นมาตรฐานเดียวกัน
  อินเทอร์เน็ต
     อินเทอร์เน็ตพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512  โดยกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกาให้ทุนกับมหาวิทยาลัย ชั้นนำในสหรัฐฯ  เพื่อเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเข้าเป็นเครือข่าย  และใช้ทรัพยากรเพื่อทำงานวิจัย เกี่ยวกับการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ร่วมกัน  ซึ่งสมัยแรกใช้ชื่อว่า  อาร์ปาเน็ต  และจึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็น อินเทอร์เน็ตในภายหลัง  เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้รับการพัฒนาให้เป็นมาตรฐาน  โดยมาตรฐานการรับส่งข้อมูลมีชื่อว่า   ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP)  ต่อมามีการเชื่อมเครือข่ายออกสู่องค์กรเอกชน และแพร่ขยายไปทั่วโลก        เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถือเป็นเครือข่ายของเครือข่าย  หมายความว่าในองค์กรได้สร้างเครือข่ายภายในตนเองขึ้นมา  และนำมาเชื่อมต่อสู่เครือข่าย สากลอินเทอร์เน็ตนี้ โดยมีการกำหนดตำแหน่งอุปกรณ์ด้วยรหัสหมายเลขที่เรียกว่า แอดเดรส  ซึ่งอินเทอร์เน็ต กำหนดรหัสแอดเดรสเรียกว่า ไอพีแอดเดรส และถือเป็นรหัสสากลที่ไม่ซ้ำกันเลย  ไอพีแอดเดรสจะประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด โดยเน้นเป็นรหัสของเครือข่ายและรหัสของอุปกรณ์  เช่น  รหัสแทนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้รหัส 158.108  ส่วนรหัสของเครื่องจะมีอีกสองพิกัดตามมา  เช่น  2.71  เมื่อเขียนรวมกันจะได้  158.108.2.71      เพื่อให้จดจำได้ง่ายจึงมีการตั้งชื่อคู่กับหมายเลข  เราเรียกชื่อนี้ว่า โดเมน  เช่นโดเมนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็ ใช้ชื่อ  ku.ac.th  โดย th หมายถึงประเทศไทย ac หมายถึงสถาบันการศึกษา  และ ku  หมายถึง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   และถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในเครือข่ายหลายเครื่อง  ก็ให้มีการตั้งชื่อเครื่องด้วย  เช่น  nontri เมื่อมีการเรียกรวมกันก็ จะเป็น  nontri.ku.ac.th  การใช้ชื่อนี้ทำให้ใช้งานง่ายกว่าตัวเลข      เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงกันได้ทั่วโลก  ทำให้โลกไร้พรมแดน  ข้อมูล  ข่าวสารต่าง ๆ สามารถสื่อถึงได้อย่าง รวดเร็ว  ตัวอย่างการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่แพร่หลายและใช้กันมากเท่านั้น แต่ยังมีการใช้งานอื่น ๆ อีกมากที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาตลอดเวลา
1.  การรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
     เป็นระบบการสื่อสารทางจดหมายผ่านคอมพิวเตอร์  ถ้าเราต้องการส่งข้อความถึงใครก็สามารถเขียนเป็นเอกสาร   แล้วจ่าหน้าซองที่อยู่ของผู้รับที่เรียกว่า แอดเดรส  ระบบจะนำส่งให้ทันทีอย่างรวดเร็ว  ลักษณะของแอดเดรสจะเป็นชื่อรหัสผู้ใช้ และชื่อเครื่องประกอบกัน  เช่น  sombat@nontri.ku.ac.th  การติดต่อบนอินเทอร์เน็ตนี้  จะหาตำแหน่งให้เองโดยอัตโนมัติ   และนำส่งไปปลายทางได้อย่างถูกต้อง  การรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (email)  กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
2.  การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน
     เป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้สามารถรับส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างกันหรือมีสถานีให้บริการ เก็บแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในที่ต่าง ๆ  และให้บริการ  ผู้ใช้สามารถเข้าไปคัดเลือกนำแฟ้มข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้
3.  การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล
     การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย  ทำให้เราสามารถ เรียกหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีบริการใน ที่ห่างไกลได้    ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปประมวลผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่าย 
โดยไม่ต้องเดินทางไปเอ
4.  การเรียกค้นข้อมูลข่าวสาร
     ปัจจุบันมีฐานข้อมูลที่เก็บไว้ให้ใช้งานจำนวนมาก  ฐานข้อมูลบางแห่งเก็บข้อมูลในรูปสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้สามารถ เรียกอ่าน  หรือนำมาพิมพ์  ลักษณะการเรียกค้นนี้จึงมีลักษณะเหมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่าย ที่สามารถค้นหาข้อมูลใด ๆ ก็ได้  ฐานข้อมูล ในลักษณะนี้เรียกว่า เครือข่ายใยแมงมุมครอบคลุมทั่วโลก(World Wide Web : WWW)  เป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก
5.  การอ่านจากกลุ่มข่าว
     ภายในอินเทอร์เน็ตมีกลุ่มข่าวเป็นกลุ่ม ๆ  แยกตามความสนใจ  แต่ละกลุ่มข่าว อนุญาตให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่งข้อความ ลงไปได้  และหากมีผู้ต้องการเขียนโต้ตอบก็สามารถเขียนตอบได้  กลุ่มข่าวนี้จึงแพร่หลายกระจายข่าวได้รวดเร็ว
6.  การสนทนาบนเครือข่าย
   เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลาง   ในการติดต่อสนทนากันได้  ในยุคแรกใช้วิธีการสนทนาเป็นตัวหนังสือ ต่อมา พัฒนาให้ใช้เสียงได้     ปัจจุบันถ้าระบบสื่อสารมีความเร็วพอก็สามารถสนทนาโดยที่เห็นหน้ากันและกันบนจอภาพได้

7.  การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย ปัจจุบันมีผู้ตั้งสถานีวิทยุบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหลายร้อยสถานี  ผู้ใช้สามารถเลือกสถานที่ต้องการและได้ยินเสียงเหมือน การเปิดฟังวิทยุ  ขณะเดียวกันก็มีการส่งกระจายภาพวีดิโอบนเครือข่ายด้วย
 http://www.rayongwit.ac.th/comcen09/network/lesson7.htm
รูปร่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การเชื่อมต่อเครือข่ายมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะ แต่ลักษณะที่นิยมใช้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 ลักษณะ ได้แก่
แบบดาว (Star Network)
          เป็นลักษณะของการต่อเครือข่ายที่ Work station แต่ละตัวต่อรวมเข้าสู่ศูนย์กลางสวิตซ์ เพื่อสลับตำแหน่งของเส้นทางของข้อมูลใด ๆ ในระบบ ดังนั้นใน โทโปโลยี แบบดาว คอมพิวเตอร์จะติดต่อกันได้ใน 1 ครั้ง ต่อ 1 คู่สถานีเท่านั้น เมื่อสถานีใดต้องการส่งข้องมูลมันจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์กลางสวิทซ์
ก่อน เพื่อบอกให้ศูนย์กลาง สวิตซ์มันสลับตำแหน่งของคู่สถานีไปยังสถานีที่ต้องการติดต่อด้วย ดังนั้นข้อมูลจึงไม่เกิดการชนกันเอง ทำให้การสื่อสารได้รวดเร็ว เมื่อสถานีใดสถานีหนึ่งเสีย ทั้งระบบจึงยังคงใช้งานได้ ในการค้นหาข้อบกพร่องจุดเสียต่างๆ จึงหาได้ง่ายตามไปด้วย แต่ก็มีข้อเสียที่ว่าต้องใช้งบประมาณสูง ในการติดตั้งครั้งแรก ลักษณะการเชื่อมต่อ
ข้อดี
http://www.chakkham.ac.th/technology/network/network_files/arrow.gifไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายเคเบิลมากนัก
http://www.chakkham.ac.th/technology/network/network_files/arrow.gifสามารถขยายระบบได้ง่าย
http://www.chakkham.ac.th/technology/network/network_files/arrow.gifเสียค่าใช้จ่ายน้อย
ข้อเสีย
http://www.chakkham.ac.th/technology/network/network_files/arrow.gifอาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ดต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมีการขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องอื่นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย

http://www.chakkham.ac.th/technology/network/network_files/arrow.gifการตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยากเนื่องจากขณะใดขณะหนึ่งจะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น 
ที่สามารถส่งข้อความออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ก ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้
แบบผสม (Hybrid Network)
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบต่างๆ หลายๆ แบบเข้าด้วยกัน คือจะมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย หลายๆ เครือข่ายเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานเครือข่ายบริเวณกว้างเป็นตัวอย่างเครือข่ายผสมที่พบเห็นกัน มากที่สุด เครือข่ายแบบนี้จะเชื่อมต่อเครือข่ายเล็ก-ใหญ่ หลากหลายแบบเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว ซึ่งเครือข่ายที่ถูกเชื่อมต่ออาจจะอยู่ห่างกันคนละจังหวัด หรือ อาจจะอยู่คนละประเทศก็เป็นได้
การเข้าถึงระยะไกล
              คุณสมบัติเด่นอย่างหนึ่งของเครือข่ายแบบผสมก็คือ ผู้ใช้สามารถเชื่อม ต่อกับเครือข่ายจากระยะไกลเช่น อยู่ที่บ้าน หรืออยู่ภาคสนามได้
ในการ เชื่อมต่อก็จะได้คอมพิวเตอร์สั่งโมเด็มหมุนสัญญาณให้วิ่งผ่านสาย โทรศัพท์ไปเชื่อมต่อกับเครือข่ายหลังจากการเชื่อมต่อผู้ใช้สามารถเข้าไป
เรียกใช้ข้อมูลได้สมือนกับว่ากำลังใช้เครือข่ายที่บริษัท
การบริหารเครือข่าย
เนื่องจากเครือข่ายผสมเป็นการผสมผสานเครือข่ายหลายแบบเข้าด้วย กัน ซึ่งแต่ละเครือข่ายก็มีรายละเอียดทางเทคนิคแตกต่างกันไป

         ดังนั้น การบริหารเครือข่ายก็อาจจะยากกว่าเครือข่ายแบบอื่น ๆด้วยเหตุนี้ บริษัทที่มีเครือข่ายผสมขนาดใหญ่ของตัวเองก็มักจะตั้งแผนกที่ทำหน้าที่ดูแลและบริหารเครือข่ายนี้โดยเฉพาะ

 ค่าใช้จ่ายโดยปกติเครือข่ายแบบผสมจะมีราคาแพงกว่าเครือข่ายแบบต่างๆ เพราะ เครือข่ายแบบนี้เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ และมีความซับซ้อนสูง
นอกจาก นี้ยังต้องมีการลงทุนเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัยมากกว่า เครือข่ายอื่นอีกด้วย เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อระยะไกล

อุปกรณ์ที่ใช้การสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์
ฮับ หรือ รีพีทเตอร์ (Hub, Repeater)เป็นอุปกรณ์ที่ทวน และขยายสัญญาณ เพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลัง การรับ-ส่ง และไม่มีการใช้ซอฟท์แวร์ใดๆ มาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้ การติดตั้งจึงทำได้ง่าย ข้อเสียคือ ความเร็วในการส่งข้อมูล จะเฉลี่ยลดลงเท่ากันทุกเครื่อง เมื่อมีคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อมากขึ้น
สวิทช์ หรือ บริดจ์ (Switch, Bridge)
 เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อ เครือข่ายท้องถิ่น หรือ แลน (LAN) ประเภทเดียวกัน ใช้โปรโตคอลเดียวกัน สองวงเข้าด้วยกัน เช่น ใช้เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) หรือ โทเคนริงก์แลน (Token Ring LAN) ทั้งนี้ สวิทช์ หรือ บริดจ์ จะมีความสามารถในการเชื่อมต่อ ฮาร์ดแวร์ และตรวจสอบข้อผิดพลาด ของการส่งข้อมูลได้ด้วย ความเร็วในการส่งข้อมูล ก็มิได้ลดลง และติดตั้งง่าย
http://www.chakkham.ac.th/technology/network/network_files/arrow.gifเร้าเตอร์ (Router)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานคล้าย สวิทช์ แต่จะสามารถเชื่อมต่อ ระบบที่ใช้สื่อ หรือสายสัญญาณต่างชนิดกันได้ เช่น เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน
(Ethernet LAN) ที่ส่งข้อมูลแบบ ยูทีพี (UTP: Unshield Twisted Pair) เข้ากับ อีเธอร์เน็ตอีกเครือข่าย แต่ใช้สายแบบโคแอ็กเชียล
(Coaxial cable) ได้ นอกจากนี้ยังช่วยเลือก หรือกำหนดเส้นทางที่จะส่งข้อมูลผ่าน และแปลงข้อมูลให้เหมาะสมกับการนำส่ง แน่นอนว่าการติดตั้งย่อมยุ่งยากมากขึ้น

http://www.chakkham.ac.th/technology/network/network_files/arrow.gifเกทเวย์ (Gateway)
เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงสุด ในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยไม่มีขีดจำกัด ทั้งระหว่างเครือข่ายต่างระบบ หรือแม้กระทั่ง โปรโตคอล จะแตกต่างกันออกไป เกทเวย์ จะแปลงโปรโตคอล ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ต่างชนิดกัน จัดเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพง และติดตั้งใช้งานยุ่งยาก เกตเวย์บางตัว จะรวมคุณสมบัติในการเป็น เร้าเตอร์ ด้วยในตัว หรือแม้กระทั่ง อาจรวมเอาฟังก์ชั่นการทำงาน ด้านการรักษาความปลอดภัย ที่เรียกว่า ไฟร์วอลล์ (Firewall) เข้าไว้ด้วยกัน


      เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูลและใช้อุปกรณ์ในเครือข่ายร่วมกันได้ เครือข่ายมีตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองถึงสามเครื่องภายในหน่วยงาน ไปจนถึงเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์นับล้านเครื่องทั่วโลก
เครือข่ายคอมพิวเตอรมีความสำคัญและได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะสามารถสร้างระบบคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงานแต่ละประเภทได้ ในธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่สามารถลงทุนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงก็สามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องต่อเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายแทนได้ องค์กรขนาดใหญ่สามารถลดการลงทุนได้ โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงจากไมโครคอมพิวเตอร์กลุ่มเล็ก ๆ หลายกลุ่มรวมกันเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร เครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทที่สำคัญต่อหน่วยงานดังนี้
1. ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มและสามารถทำงานพร้อมกันได้
2. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน ทำให้องค์กรได้รับประโยชน์มากขึ้น
3. สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า เช่น ใช้เครื่องประมวลผลร่วมกัน แบ่งกันใช้แฟ้มข้อมูล ใช้เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์ที่มีราคาแพงร่วมกัน
4. ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย
คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลที่ประกอบกันเป็นเครือข่าย มีการเชื่อมโยงถึงกันในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เทคโนโลยีการออกแบบเชื่อมโยงนี้เรียกว่า รูปร่างเครือข่ายหรือโทโปโลยีเครือข่าย (network topology)
ปัญหาของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ของสถานีปลายทางหลาย ๆ สถานี คือ จำนวนสายที่ใช้เชื่อมโยงระหว่างสถานีเพิ่มมากขึ้น และระบบการสลับสายเพื่อโยงข้อมูลถึงกันในการสื่อสารระหว่างสถานีนั้น ถ้ามีการเพิ่มสถานีมากขึ้นค่าใช้จ่ายในการเดินสายก็มากตามไปด้วย และในขณะที่สถานีหนึ่งสื่อสารกับสถานีหนึ่งก็จะถือครองการใช้สายเชื่อมโยงระหว่างสถานีนั้น ทำให้การใช้สายเชื่อมโยงไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงมีความพยายามที่จะหาลักษณะรูปร่างเครือข่าย ที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายเชื่อมโยง ง่ายต่อการติดตั้ง และมีประสิทธิภาพที่ดีต่อระบบ รูปร่างเครือข่ายงานที่ใช้ในการสื่อสารมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีลักษณะการเชื่อมต่อแตกต่างกัน บางรูปแบบมีการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (point-to-point)และบางรูปแบบมีลักษณะการเชื่อมต่อแบบหลายจุด (multipoint)
การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารสองเครื่อง โดยใช้สื่อกลางหรือช่องทางในการสื่อสารช่องทางเดียว เป็นการจองสายในการส่งข้อมูลระหว่างกันโดยไม่มีการใช้งานสื่อกลางนั้นร่วมกับอุปกรณ์ชิ้นอื่น ๆ การเชื่อมต่อลักษณะนี้เป็นการเชื่อมต่อที่ทำให้สิ้นเปลืองช่องทางการสื่อสาร
การเชื่อมต่อแบบหลายจุด เป็นการใช้งานช่องทางการสื่อสารเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการเชื่อมต่อลักษณะนี้จะใช้ช่องทางการสื่อสารหนึ่งช่องทางเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารหลายชิ้น โดยมีจุดเชื่อมแยกออกมาจากสายหลัก
รูปร่างเครือข่ายมีหลายรูปแบบ เช่น เครือข่ายแบบดาว เครือข่ายแบบบัส เครือข่ายแบบวงแหวน และเครือข่ายแบบต้นไม้
เครือข่ายแบบดาว (star topology)
เป็นการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด โดยสถานีทุกสถานีในเครือข่ายจะต่อเข้ากับหน่วยสลับสายกลางแบบจุดต่อจุด การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์กลางของการติดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน
ข้อดีคือการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบกับเครื่องอื่นในระบบเลย แต่ข้อเสียคือมี ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสูงและถ้าคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสียระบบเครือข่ายจะหยุดชะงักทั้งหมดทันที
 เครือข่ายแบบบัส (bus topology)
เป็นรูปแบบที่มีผู้นิยมใช้มากแบบหนึ่ง เพราะมีโครงสร้างไม่ยุ่งยากและไม่ต้องใช้อุปกรณ์สลับสาย เป็นการเชื่อมต่อแบบหลายจุด สถานีทุกสถานีรวมทั้งอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้ากับสายสื่อสารหลักเพียงสายเดียว เรียกว่าแบ็กโบน (backbone) การจัดส่งข้อมูลลงบนบัสจึงสามารถทำให้การส่งข้อมูลไปถึงทุกสถานีได้ผ่านสายแบ็กโบนนี้ โดยการจัดส่งวิธีนี้ต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน โดยวิธีการที่ใช้อาจเป็นการแบ่งช่วงเวลา หรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน ข้อดีที่ใช้สายน้อย และถ้ามีเครื่องเสียก็ไม่มีผลอะไรต่อระบบโดยรวม ส่วนข้อเสียก็คือตรวจหาจุดที่เป็นปัญหาได้ยาก
เครือข่ายแบบวงแหวน (ring topology)
เป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดเช่นเดียวกับแบบดาว โดยสถานีแต่ละสถานีจะต่อกับสถานีที่อยู่ติดทั้งสองข้างของตนเอง และทุกสถานีมีเครื่องขยายสัญญาณของตัวเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของแต่ละสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน สัญญาณข้อมูลจะส่งอยู่ในวงแหวนแบบจุดต่อจุดไปในทิศทางเดียวกันจนถึงผู้รับภายในเวลาที่กำหนด โดยเครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้า และส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป อีกทั้งสามารถตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งด้วยโดยกรณีที่เครื่องรับปลายทางไม่ได้รับสัญญาณข้อมูลในเวลาที่กำหนด จะมีการแจ้งว่าเกิดความผิดพลาดในเครือข่ายได้ ข้อดีคือ ใช้สายเคเบิลน้อย และสามารถตัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้ ทำให้ไม่มีผลต่อระบบเครือข่าย ข้อเสียคือหากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงานได้เลย และการเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลงก่อน
เครือข่ายแบบต้นไม้ (tree topology)
มีลักษณะการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดเช่นเดียวกับแบบดาว โดยมีสายนำสัญญาณแยกออกไปเป็นแบบกิ่ง เครือข่ายแบบนี้จะเหมาะกับการประมวลผลแบบกลุ่มจะประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับต่างๆกันอยู่หลายเครื่องแล้วต่อกันเป็นชั้น ๆ ดูราวกับแผนภาพองค์กร แต่ละกลุ่มจะมีโหนดแม่ละโหนดลูกในกลุ่มนั้นที่มีการสัมพันธ์กัน การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่นๆได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม และรับส่งข้อมูลเดียวกัน ดังนั้นในแต่ละกลุ่มจะส่งข้อมูลได้ทีละสถานีโดยไม่ส่งพร้อมกัน
ฮับ (hub)
เป็นอุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายๆ สถานี เข้าด้วยกัน ฮับเปรียบเสมือนเป็นบัสที่รวมอยู่ที่จุดเดียวกัน ฮับที่ใช้งานอยู่ภายใต้มาตรฐานการรับส่งแบบอีเทอร์เน็ต หรือ IEEE802.3 ข้อมูลที่รับส่งผ่านฮับจากเครื่องหนึ่งจะกระจายไปยังทุกสถานีที่ต่ออยู่บนฮับนั้น ดังนั้น ทุกสถานีจะรับสัญญาณข้อมูลที่กระจายมาได้ทั้งหมด แต่จะเลือกคัดลอกเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเท่านั้น การตรวจสอบข้อมูลจึงต้องดูที่แอดเดรส (address) ที่กำกับมาในกลุ่มของข้อมูลหรือแพ็กเก็ต
อุปกรณ์สวิตซ์ (switch)
เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายสถานีเช่นเดียวกับฮับ แต่มีข้อแตกต่างจากฮับ คือ การรับส่งข้อมูลจากสถานี(อุปกรณ์) ตัวหนึ่ง จะไม่กระจายไปยังทุกสถานี (อุปกรณ์) เหมือนฮับ ทั้งนี้เพราะสวิตช์จะรับกลุ่มข้อมูล(แพ็กเก็ต) มาตรวจสอบก่อน แล้วดูว่าแอดเดรสของสถานีปลายทางไปที่ใด สวิตช์จะนำแพ็กเก็ตหรือกลุ่มข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังสถานี (อุปกรณ์) เป้าหมายให้อย่างอัตโนมัติ สวิตช์จะลดปัญหาการชนกันของข้อมูลเพราะไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานี และยังมีข้อดีในเรื่องการป้องกันการดักจับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย
อุปกรณ์จัดเส้นทาง (router)
ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน หรือเชื่อมโยงอุปกรณ์หลายอย่างเข้าด้วยกัน จะมีเส้นทางการเข้าออกของข้อมูลได้หลายเส้นทาง และแต่ละเส้นทางอาจใช้เทคโนโลยีเครือข่ายที่ต่างกัน อุปกรณ์จัดเส้นทางจะหาเส้นทางที่เหมาะสมให้ เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การที่อุปกรณ์จัดหาเส้นทางเลือกเส้นทางได้ถูกต้องเพราะแต่ละสถานีภายในเครือข่ายมีแอดเดรสกำกับ อุปกรณ์จัดเส้นทางต้องรับรู้ตำแหน่งและสามารถนำข้อมูลออกทางเส้นทางได้ถูกต้องตามตำแหน่งแอดเดรสที่กำกับอยู่ในเส้นทางนั้น


4.1ฮาร์ดแวร์หรือส่วนเครือข่ายเชิงกายภาพ(Physical Networking) หรืออุปกรณ์เครือข่ายได้แกสายนำสัญญาณ แผ่นวงจรเครือข่าย (LAN Card) ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ฮับ(Hub)และสิ่งอื่นๆ ที่เครือใช้ในการรับ-ส่งข้อมูล
อ้างอิง: เอกสารประกอบการเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู หน้า 71-72            
4.2 ซอฟแวร์หรือส่วนการจัดการเชิงตรรกะ เป็นซอฟแวร์ที่กำหนดกฎเกณฑ์ในการจัดการเกี่ยวในการบริหารจัดการกับอุปกรณ์ และการควบคุมการถ่ายโอนข้อมูลของเครื่องทำให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องบริการ (Sender) และเครื่องรับบริการ (Client) ทำให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งเป็นเกณฑ์วิธีการทำงานของเครือข่ายให้คอมพิวเตอร์สื่อสารกันได้ภายไต้มาตรฐานเดียวกัน
อ้างอิง: เอกสารประกอบการเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู   หน้า 73-74